สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่

ข้อมูลพืชสวน 

รายงานข้อมูลพืช

กลุ่มพืช(Group)/ชื่อพืช : ไม้ผล

ชื่อพืช (PlantName)

ชื่อไทย(Thai Name/Vernacular name) : ทุเรียน

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Sciencetific Name)

วงศ์ (Family) : MALVACEAE

สกุล (Genus) : Durio

ชนิด (specific epithet) : zibethinus

ชื่อผู้ตั้ง (Author name) : L.

ชนิดย่อย (Subspecies) : ไม่ได้ระบุ

พันธุ์ (Variety) : นกหยิบ

ทดสอบเพิ่มฟืลด์ :

ชื่อการทดลอง :

ลักษณะทางเกษตร : การเจริญเติบโตของต้น (growth habit) เร็ว การติดดอก (frowering) ปานกลาง (intermediate) การติดผล (fruit setting) ปานกลาง (intermediate) ผลผลิตต่อต้นเมื่ออายุได้ 15 ปี (fruit bearing) 80 ผล ขนาดผล (fruit size) ความยาวผล 24 เซนติเมตร ความกว้างผล 20 เซนติเมตร เส้นรอบวงผล 61 เซนติเมตร น้ําหนักผล (fruit weight) 3 กิโลกรัม ความกว้างปากปลิง 2.06 เซนติเมตร ความยาวจากขั้วผลถึงปากปลิง 3.30 เซนติเมตร น้ําหนักเนื้อต่อผล (flesh weight) 710 กรัม ความหนาเนื้อ (flesh thickness) 1.73 เซนติเมตร สีเนื้อผลสุก (flesh colour of ripe fruit) YO 16 B กลิ่นของเนื้อ (flesh aroma) มีกลิ่นปานกลาง(intermediate) รสชาติของเนื้อ (taste) หวานมันพอดีลักษณะของเนื้อ (flesh texture) ละเอียด (fine) เส้นใยในเนื้อ (fiber) ไม่มี(absent) ปริมาณน้ำในเนื้อ (fruit juiciness) ปานกลาง (intermediate) น้ําหนักเปลือก (husk weight) 1,700 กรัม สีเปลือก (husk colour) YG 148 C จํานวนเมล็ดลีบต?อเมล็ดเต็ม -/100 ขนาดของเมล็ด (seed size) ความกว?าง (width) 3.6 เซนติเมตร ความยาว(lenght) 5.43 เซนติเมตร รูปทรงของเมล็ด (seed shape) ขอบขนาน (oblong) น้ําหนักเมล็ด (seed weight) 210 กรัม ฤดูกาลผลิต(fruit season) ตรงฤดูกาล (season) อายุการเก็บเกี่ยว (harvesting index) 102 วัน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : การจัดเรียงกิ่ง (arrangement of branching) ไม่เป็นระเบียบ (not orderly) ใบ (leaf) รูปร่างของใบ (leaf shape) ป้อมโคนใบ (ovate lanceolate) ปลายใบ (leaf apex) เรียวแหลม (acuminate) ฐานใบ (leaf base) มน(obtuse) ดอก (flower) รูปร่างของดอกตูม (at preblossom stage) ขอบขนาน (oblong) ปลายดอกตูม (flower apex) แหลม (acute) ผล (fruit) ทรงผล (fruit shape) รูปไข่ (ovate) ปลายผล (fruit apex) แหลม (pointed) ลักษณะฐานผล (fruit base) ป้าน (flattened) ความยาวก้านผล (fruit peduncle length) สั้น (short)< 5 เซนติเมตร รูปร่างก้านผล (fruit peduncle shape) ขอบนูน (lip) หนามผล (fruit spine) รูปร่างหนามผล (fruit spine shape) นูนปลายแหลม (pointed convex) หนามผลรอบจุดศูนย์กลางปลายผล (fruit spine at the center point of distal) ไม่มีหนาม (absent) หนามปลายผล (fruit spine apex) หนามตรง (vertical spine) หนามรอบขั้วผล (proximal spine) หนามงุ้มเข้า (hooked spine)

สถานการณ์พืช : สถานการณ์ทุเรียน พันธุ์การค้าที่สำคัญ พันธุ์ทุเรียนจำแนกตามลักษณะรูปร่างใบ ปลายใบ ฐานใบ ทรงผล และรูปร่างของหนาม สำหรับในประเทศไทยนั้นมีการรวบรวมไว้ ในแปลงรวบรวมพันธุ์ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี กรมวิชาการเกษตร มากกว่า500 สายพันธุ์ พันธุ์ที่นิยมปลูกทางการค้า ได้แก่ พันธุ์หมอนทอง ผลมีขนาดผลใหญ่ น้ำหนักประมาณ 3-4 กิโลกรัม ทรงผลค่อนข้างยาวมีบ่าผล ปลายผลแหลม พู หนามแหลมสูง ฐานหนามเป็นเหลี่ยม ระหว่างหนามใหญ่จะมีหนามเล็กวางแซมอยู่ทั่วไป ก้านผลใหญ่แข็งแรง ช่วงกลางก้านผลจนถึงปากปลิงจะอ้วนใหญ่เป็นทรงกระบอก เนื้อหนาละเอียด สีเหลืองอ่อน เนื้อค่อนข้างแห้งไม่แฉะ รสชาติหวานมัน มีเมล็ดน้อย พันธุ์ชะนี ผลมีขนาดปานกลางถึงใหญ่ น้ำหนักประมาณ 2.5-3 กิโลกรัม ผลมีรูปทรงหวด (กลางผลป่อง หัวเรียว ก้นตัด) ร่องพูค่อนข้างลึกเห็นได้ชัด ขั้วผลใหญ่และสั้น เนื้อหนำละเอียด สีเหลืองจัด รสชาติหวานมัน เมล็ดค่อนข้างเล็กและมีจำนวนเมล็ดน้อย พันธุ์ก้านยาว ผลมีขนาดปานกลาง น้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัม ทรงผลกลมเห็นพูไม่ชัดเจน พูเต็มทุกพู หนามเล็กถี่สั้นสม่ำเสมอทั้งผล ก้านผลใหญ่และยาวกว่าพันธุ์อื่นๆ เนื้อละเอียดสีเหลือง เนื้อหนาปานกลาง รสชาติหวานมัน เมล็ดมากค่อนข้างใหญ่ พันธุ์กระดุม ผลมีขนาดเล็ก น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม ผลมีลักษณะค่อนข้างกลม ก้นผลบุ๋มเล็กน้อย หนามเล็กสั้นและถี่ ขั้วค่อนข้างเล็กและสั้น ลักษณะของพูเต็มสมบูรณ์ ร่องพูค่อนข้างลึก เนื้อละเอียดอ่อนนุ่มสีเหลืองอ่อน เนื้อค่อนข้างบาง รสชาติหวานไม่ค่อยมัน เละง่ายเมื่อสุกจัด เมล็ดมีขนาดใหญ่ ด้านการผลิต ทุเรียนมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แหล่งผลิตสำคัญได้แก่ ประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ในปี 2563 (ปีเพาะปลูก 2562/63) ทุเรียนมีเนื้อที่ให้ผลผลิต รวมทั้งประเทศ 755,000 ไร่ ผลผลิต 1,133,000 ตัน และผลผลิตต่อไร่ 1,500 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่มีเนื้อที่ให้ผลผลิต 726,475 ไร่ ผลผลิต 1,013,741 ตัน และผลผลิตต่อไร่ 1,395 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 3.93 ร้อยละ 11.76 และร้อยละ 7.53 ตามลำดับ เนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้นจากปี 2562 เนื่องจากทุเรียนที่ปลูกในปี 2558 เริ่มให้ผลผลิตเป็นปีแรก และจากการขยายเนื้อที่ปลูกทุเรียนของเกษตรกรแทนพืชอื่น เช่น เงาะ ลองกอง ยางพารา และปาล์มน้ำมัน เป็นต้น และคาดว่าผลผลิตรวมและผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น หากสภาพภูมิอากาศ ในปี 2563 เอื้ออำนวยต่อการติดดอกและออกผล ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้เกษตรกรดูแลเอาใจใส่และบำรุงรักษาสวนทุเรียนมากขึ้น ด้านการตลาด ในปี 2563 ประมาณการส่งออกทุเรียนสดและผลิตภัณฑ์มีปริมาณ ประมาณ 784,699 ตัน คิดเป็นมูลค่า 50,776 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มจากปี 2562 คิดเป็นร้อยละ 14.62 โดยแบ่งเป็นทุเรียนสด 756,046 ตัน ทุเรียนแช่แข็ง 27,144 ตัน ทุเรียนอบแห้ง 213 ตัน และทุเรียนกวน 1,296 ตัน ซึ่งตลาดส่งออกหลักของไทย คือ ประเทศจีน โดยส่งออกในรูปทุเรียนสดมากกว่าร้อยละ 90 ของการส่งออกทั้งหมด ความต้องการบริโภคทุเรียนสดและผลิตภัณฑ์ภายในประเทศมีปริมาณ 339,900 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2562 คิดเป็นร้อยละ 5.63 เนื่องจากความต้องการของตลาดต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งทุเรียนสดและผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะตลาดจีนซึ่งยังมีความต้องการบริโภคทุเรียนสดจากไทย ประกอบกับการพัฒนาระบบการขนส่งและโลจิสติกส์ของจีนช่วยให้กระจายผลผลิตไปยังผู้บริโภคในมณฑลต่างๆ ของจีนได้ง่ายและสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการขยายการส่งออกทุเรียนสดและทุเรียนแช่แข็งไปยังตลาดอื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และไต้หวัน เป็นต้น ราคาผลผลิตภายในประเทศ ในปี 2563 ประมาณการราคาผลผลิตที่เกษตรกรขายได้ และราคาขายส่งตลาดกรุงเทพฯ มีแนวโน้มใกล้เคียงกับปี 2562 ที่มีราคาทุเรียนพันธุ์หมอนทองเท่ากับ 100 บาทต่อกิโลกรัม และ 120 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ และราคาพันธุ์ชะนีเท่ากับ 64 บาทต่อกิโลกรัม และ 86 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ส่วนราคาส่งออกของทุเรียนสด ทุเรียนแช่แข็ง ทุเรียนกวน ในปี 2562 เท่ากับ 68.5 บาท 218 บาท และ107 บาท ตามลำดับ แหล่งรับซื้อทุเรียนของประเทศไทยแบ่งเป็น 3 แหล่ง ได้แก่ 1) แหล่งส่งออก (ล้ง/จุดรับซื้อ) เป็นแหล่งหลักของประเทศมีปริมาณการรับซื้อ 315,839 ตัน คิดเป็นร้อยละ 63.74 2) การกระจายผลผลิตในประเทศ เช่น Modern trade ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ผ่านกลไกของสหกรณ์ จำหน่ายตรงกับผู้บริโภค เป็นต้น มีปริมาณการรับซื้อ 108,910 ตัน คิดเป็นร้อยละ 21.98 และ 3) แหล่งแปรรูป มีปริมาณการรับซื้อ 70,784 ตัน คิดเป็นร้อยละ 14.29

ไถแปร :

อื่นๆ :

วิธีปลูก :

อัตราปลูก :

พันธ์และท่อนพันธ์ที่ใช้ :

วันปลูก :

วันงอก :

วันปลูกซ่อมหรือย้ายกล้าซ่อม :

วันที่ออกดอก :

วันที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ครั้งแรก :

การเก็บเกี่ยว :

การจัดการส่วนขยายพันธุ์

สารที่ใช้ :

อัตรา :

วิธีการ :

ตารางการใส่ปุ่ย

ครั้งที่ :

วันที่ :

วิธีการให้น้ำ

ครั้งที่ :

วันที่ :

วิธี :

ปริมาณน้ำ(มิลิลิตร) :

โรคพืช


แมลง ไร และศัตรูพืช


วัชพืช


ข้อมูลกรมอุตนิยมวิทยา :

เอกสารการรับรองพันธุ์/การขึ้นทะเบียนพัน :

ข้อมูลอื่นๆ :

ข้อมูลอื่นๆ :


ข้อมูลการทดลอง

ข้อมูลผู้ทดลอง :

ฤดูปลูก-ปี :

ไร่เกษตรกร/ศูนย์วิจัย :

จังหวัด :

อำเภอ :

ตำบล :

พื้นที่ลาดเอียง :

พิกัด X :

พิกัด Y :

การวางแผนการทดลอง (Experimental design) :

จำนวนกรรมวิธี (Treatment) :

จำนวนซ้ำ (Replication) :

จำนวนบล็อค (Block) :

ขนาดแปลง (ตารางเมตร (ไร่)) :

ขนาดความกว้างแปลงย่อย :

ขนาดความยาวแปลงย่อย :

จำนวนต้นเก็บเกี่ยว :

จำนวนต้นเก็บเกี่ยว :

ระยะการปลูก

ระหว่างแถว (เซนติเมตร) :

ระหว่างต้น (เซนติเมตร) :

ระยะการปลูก

ข้อมูลอื่น :

ปัญหาอุปสรรค์และวิธีการแก้ไข :

พืชที่ปลูกในฤดูที่ผ่านมา :

ผลผลิต (กิโลกรัม/ไร่) :

การใส่ปุ๋ยในฤดูที่ผ่านมา :

ศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด :

วันที่ปลูก :

วันที่ออกดอก :

วันที่เก็บเกี่ยว :

ชนิดของดินที่ปลูก

ชนิดของดินที่ปลูก :

การวิเคราะห์ดิน

ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) :

อินทรีวัตถุ (%) :

ฟอสฟอรัส (mg/kg) :

โพแทสเซียม (mg/kg) :

ค่าการนำไฟฟ้า (EC) :

ธาตุรองต่างๆและธาตุเสริม

Ca (mg/kg) :

Fe (mg/kg) :

Mo (mg/kg) :

Mg (mg/kg) :

Zn (mg/kg) :

Mn (mg/kg) :

S (mg/kg) :

B (mg/kg) :

Cu (mg/kg) :