ข้อมูลพืชสวน
กลุ่มพืช(Group)/ชื่อพืช : ไม้ผล
ชื่อพืช (PlantName)
ชื่อไทย(Thai Name/Vernacular name) : องุ่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Sciencetific Name)
วงศ์ (Family) : VITACEAE
สกุล (Genus) : Vitis
ชนิด (specific epithet) : vinifera
ชื่อผู้ตั้ง (Author name) : L.
ชนิดย่อย (Subspecies) : ไม่ได้ระบุ
พันธุ์ (Variety) : ไม่ได้ระบุ
ทดสอบเพิ่มฟืลด์ :
ชื่อการทดลอง :
ลักษณะทางเกษตร :
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
สถานการณ์พืช : องุ่นเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเขตอบอุ่น ช่วงเส้นละติจูด 20 – 51 องศาเหนือ และ 20 – 40 องศาใต้ ซึ่งเป็นภูมิอากาศแถบคอเคซัส ต่อจากนั้นได้มีการแพร่กระจายพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตองุ่นและการทำไวน์ โดยการขยายอาณานิคมของกลุ่มประเทศมหาอำนาจในยุโรปไปยังประเทศอัฟริกา อเมริกา ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ส่วนในไทยเชื่อว่ามีการนำเข้ามาปลูกในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ไม่แพร่หลายนัก จนในปัจจุบันการพัฒนาการปลูกองุ่นเป็นการค้าได้แพร่หลายมากขึ้น โดยมีการปลูกในแถบภาคตะวันตก เช่น อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี อำเภอสามพราน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งสามารถให้ผลผลิตได้ดี แต่เนื่องจากมีปัญหาโรคและแมลงระบาดมาก เกษตรกรบางรายจึงเปลี่ยนจากองุ่นเป็นพืชอื่น จึงมีพื้นที่ปลูกในแถบนี้ลดลง และพื้นที่ปลูกองุ่นได้ขยายไปในแถบภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพิ่มขึ้น ซึ่งในปี 2556 องุ่นมีพื้นที่เก็บเกี่ยวทั้งหมด 11,755 ไร่ เนื้อที่เก็บเกี่ยว 9,194 ไร่ ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ 51,116,284 กิโลกรัมซึ่งลดลงจากปี 2555 (ศูนย์สารสนเทศ กรมส่งเสริมการเกษตร, 2556) และปริมาณการส่งออกองุ่นในภาพรวมปี 2556 มีมูลค่า 96,103,518 บาท อยู่ในรูปของน้ำองุ่น 79,280,883 บาท องุ่นสด 8,153,282 บาท องุ่นแห้ง 8,669,353 บาท (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2556) เทคโนโลยีการผลิตองุ่นในแถบซีกโลกตะวันตก ถือเป็นศาสตร์ที่มีการสืบทอดกันมานาน แต่ในปัจจุบันสภาพภูมิอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากสภาพโลกร้อน ทำให้ลักษณะในการดูแลรักษาต้องมีการปรับเปลี่ยน ในขณะเดียวกันการผลิตองุ่นในแถบยุโรปมีแนวโน้มการผลิตลดลงอย่างมาก โดยปี ค.ศ. 2000 มีผลผลิต 405 Mql. คิดเป็น 62.5 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตองุ่นของโลก และในปี ค.ศ. 2012 มีผลผลิต 269 Mql. คิดเป็น 39 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่แถบเอเชียมีผลผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงเดียวกันจากผลผลิต 19.4 เปอร์เซ็นต์ เป็น 31.2 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตโลก ส่วนอเมริกาผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 12 เปอร์เซ็นต์ เป็น 21 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตโลก โดยประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีการผลิตเพิ่มมาก ได้แก่ ประเทศจีน อินเดียและชิลี (www.bkwine.com/newsletter/thank-you-for-subscribing-to-the-bkwine-brief/) ในไทยได้มีการปลูกองุ่นกันมากว่า 80 ปีแล้ว โดยพื้นที่เริ่มปลูกองุ่นในช่วงแรกอยู่ที่บริเวณที่ลุ่มภาคกลาง และในปัจจุบันมีการขยายพื้นที่ปลูกกระจายไปภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก การปลูกองุ่นนั้นควรเลือกสถานที่ปลูกค่อนข้างสำคัญและจำเป็นมากเป็นลำดับแรก รองลงมาเป็นสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งสภาพปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตขององุ่นมีความสัมพันธ์กัน นอกจากนี้การจัดการในไร่องุ่น เป็นปัจจัยหนึ่งที่กำหนดผลผลิตคุณภาพองุ่น และการแปรรูปเป็นไวน์ ดังนั้นการวางแผนในการบริหารจัดการไร่องุ่นที่ดี ตั้งแต่เรื่องการวางแถวปลูก การทำงานในช่วงวงจรชีวิตขององุ่น (แตกตา แตกดอก ติดผล เก็บเกี่ยว ตัดแต่ง) การวางแผนการป้องกันศัตรูพืช การวางแผนทำงานในการกำหนดคุณภาพ (green working) จะทำให้ปัญหาเรื่องต่างๆ ลดลง ได้แก่ การคัดเลือกพันธุ์ การศึกษาวงจรชีวิตองุ่น การศึกษาวงจรศัตรูพืชขององุ่น การศึกษาทางสรีรวิทยาขององุ่น กรมวิชาการเกษตรได้รับพันธุ์องุ่นบริโภคสดและทำไวน์ ภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิชาการด้านการเกษตร ไทย – อาร์เมเนีย ไทย – โรมาเนีย ไทย –ฮังการี และญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาพันธุ์และการปรับตัวขององุ่นในสภาพแวดล้อมของไทยนั้น ควรที่จะมีการศึกษาด้านโรคและแมลงขององุ่นร่วมไปด้วย ทั้งนี้เพราะประเทศไทยมีการปลูกองุ่นมาช้านาน และโรคและแมลง ศัตรูองุ่นจัดเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งในการผลิตองุ่นปัจจุบันองุ่นที่นิยมปลูก ได้แก่พันธุ์ไวท์มะละกา และพันธุ์คาร์ดินัล ปลูกในท้องที่จังหวัดสมุทรสาคร ราชบุรี และนครปฐม ถึงแม้ได้มีการพัฒนาการบำรุงรักษา ตลอดจนใช้เทคโนโลยีบังคับองุ่นให้ออกผลในช่วงฤดูที่ต้องการแล้วผลผลิตยังให้ได้ก็เพียงพอแต่ความต้องการของตลาดภายในประเทศเท่านั้น แต่ชาวสวนองุ่นยังต้องเผชิญต่ออุปสรรคนานับประการ เช่น สภาพดินฟ้าอากาศที่ผันแปร ไม่สามารถบังคับให้ผลผลิตเพียงพอกับต้นทุนการผลิตในบางฤดูกาล รวมทั้งปัญหาศัตรูพืชที่ทำให้ค่าใช้จ่ายต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ในขณะที่รายได้ของชาวสวนองุ่นไม่แน่นอน สำหรับปัญหาด้านแมลงศัตรูองุ่น พบแมลงศัตรูองุ่นหลายชนิดเข้าทำลายทำความเสียหายส่งผลให้ผลผลิตองุ่นลดลงรวมทั้งคุณภาพชาวสวนองุ่นจำเป็นต้องใช้สารกำจัดแมลงเพิ่มขึ้นอย่างมากมายและเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากมีปัญหาการดื้อสารกำจัดแมลงของหนอนบางชนิด เช่น หนอนกระทู้หอม หรือชาวสวนเรียกว่า หนอนหนังเหนียว หนอนเจาะสมอฝ้าย และเพลี้ยไฟ ซึ่งการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการใช้สารกำจัดแมลงอย่างเดียวเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ผลในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่จะทำให้ปัญหาติดตามมามากขึ้นในอนาคตในการใช้สารกำจัดแมลงและมีมลภาวะเป็นพิษในสิ่งแวดล้อมปัจจุบันจึงเห็นได้ว่าพื้นที่ปลูกองุ่นจะลดน้อยลงในแต่ละปี ในท้องที่ที่เคยปลูกองุ่นมาตั้งนาน เช่นที่ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี อ.สามพราน จ.นครปฐม หรือไปปลูกในแหล่งอื่น ๆ เช่น ที่ อ.ปากช่อง อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา และ จ.เลย เป็นต้น และการใช้สารกำจัดแมลงนอกจากเป็นอันตรายต่อชาวสวนเองและผู้บริโภคแล้วยังมีปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
ไถแปร :
อื่นๆ :
วิธีปลูก :
อัตราปลูก :
พันธ์และท่อนพันธ์ที่ใช้ :
วันปลูก :
วันงอก :
วันปลูกซ่อมหรือย้ายกล้าซ่อม :
วันที่ออกดอก :
วันที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ครั้งแรก :
การเก็บเกี่ยว :
การจัดการส่วนขยายพันธุ์
สารที่ใช้ :
อัตรา :
วิธีการ :
ตารางการใส่ปุ่ย
ครั้งที่ :
วันที่ :
วิธีการให้น้ำ
ครั้งที่ :
วันที่ :
วิธี :
ปริมาณน้ำ(มิลิลิตร) :
โรคพืช
แมลง ไร และศัตรูพืช
วัชพืช
ข้อมูลกรมอุตนิยมวิทยา :
การรับรองพันธุ์พืช/การขึ้นทะเบียนพันธุ์พืช
เอกสารการรับรองพันธุ์/การขึ้นทะเบียนพัน :
ข้อมูลอื่นๆ :
ข้อมูลอื่นๆ :
ข้อมูลการทดลอง
ข้อมูลผู้ทดลอง :
ฤดูปลูก-ปี :
ไร่เกษตรกร/ศูนย์วิจัย :
จังหวัด :
อำเภอ :
ตำบล :
พื้นที่ลาดเอียง :
พิกัด X :
พิกัด Y :
การวางแผนการทดลอง (Experimental design) :
จำนวนกรรมวิธี (Treatment) :
จำนวนซ้ำ (Replication) :
จำนวนบล็อค (Block) :
ขนาดแปลง (ตารางเมตร (ไร่)) :
ขนาดความกว้างแปลงย่อย :
ขนาดความยาวแปลงย่อย :
จำนวนต้นเก็บเกี่ยว :
จำนวนต้นเก็บเกี่ยว :
ระยะการปลูก
ระหว่างแถว (เซนติเมตร) :
ระหว่างต้น (เซนติเมตร) :
ระยะการปลูก
ข้อมูลอื่น :
ปัญหาอุปสรรค์และวิธีการแก้ไข :
พืชที่ปลูกในฤดูที่ผ่านมา :
ผลผลิต (กิโลกรัม/ไร่) :
การใส่ปุ๋ยในฤดูที่ผ่านมา :
ศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด :
วันที่ปลูก :
วันที่ออกดอก :
วันที่เก็บเกี่ยว :
ชนิดของดินที่ปลูก
ชนิดของดินที่ปลูก :
การวิเคราะห์ดิน
ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) :
อินทรีวัตถุ (%) :
ฟอสฟอรัส (mg/kg) :
โพแทสเซียม (mg/kg) :
ค่าการนำไฟฟ้า (EC) :
ธาตุรองต่างๆและธาตุเสริม
Ca (mg/kg) :
Fe (mg/kg) :
Mo (mg/kg) :
Mg (mg/kg) :
Zn (mg/kg) :
Mn (mg/kg) :
S (mg/kg) :
B (mg/kg) :
Cu (mg/kg) :