สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่







<< กลับสู่หน้ารายการ

หม่อนนครราชสีมา 60



ดาวโหลดข้อมูล
ประวัติ
ปีพ.ศ.2524 สถานีทดลองหม่อนไหมนครราชสีมา ทำการผสมพันธุ์หม่อนระหว่างสายพันธุ์ แก้วชนบท กับ ลูกผสมสายพันธุ์ Shujakuichi no 18 ได้ลูกผสมที่ผ่านการคัดเลือกช่วงแรก 300 ต้น นำไปปลูกในแปลงทดลองได้ทำการคัดเลือกหม่อนลูกผสมที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับการให้ผลผลิตสูง และคุณภาพของใบมาทำการขยายพันธุ์ โดยการติดตาบนต้นหมอนไผ่ คัดเลือกพันธุ์หม่อนที่มีการเจริญเติบโต แตกกิ่ง ให้ผลผลิตสูง มีคุณภาพใบเหมาะสมกับการเลี้ยงไหม
ลักษณะประจำพันธุ์
ใบรูปไข่ สีเขียว มีความนุ่ม ผิวใบเรียบมากกว่าหม่อนน้อย ก้านใบยาว การเรียงตัวของใบ 2/5 ขนาดของใบ 18.3x23.3 เซนติเมตร ความเลื่อมมันใบมากกว่าหม่อนน้อย ลำต้นมีสีเทา ทรงต้นตั้งตรง ระยะข้อปล้อง 4.1 เซนติเมตร การเจริญเติบโต 276.33 เซนติเมตรต่อ 12 เดือน การแตกกิ่ง 4.5 กิ่งต่อ 12 เดือน น้ำหนัก 100 ใบ หนัก 440.87 กรัม
ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
หม่อนนครราชสีมา 60
พื้นที่แนะนำ
ปลูกได้ในสภาพพื้นที่ทั่วไปที่มีการเลี้ยงไหม
ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
ท่อนพันธุ์ออกรากได้ยากกว่าหม่อนน้อย ก่อนปลูกควรชุบสารเร่งรากหรือขยายพันธุ์ด้วยวิธีติดตาลงบนต้นตอหม่อนพันธุ์ที่ออกรากง่ายนอกจากนี้เป็นพันธุ์ไม่ต้านทานโรคและแมลง
หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
ศูนย์วิจัยหม่อนไหมนครราชสีมา กรมวิชาการเกษตร
วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
09 ธ.ค. 2530
ประเภทพันธุ์
พันธุ์รับรอง
ลักษณะเด่น
ผลผลิตใบหม่อนต่อไร่สูงกว่าพันธุ์ม่อนน้อยในทุกฤดูกาลโดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 3,600 กิโลกรัมต่อไร่ ต่อปี (สามารถเลี้ยงไหมได้ 8-9 กล่อง ได้ผลผลิตรังไหม 160-180 กิโลกรัม มูลค่า 16,000-18,000 บาท ต่อไร่ต่อปี) มีการแตกกิ่งหลังตัดแต่งดีกว่าหม่อนน้อย ก้านใบมีลักษณะใหญ่ยาวและแข็งทำให้เหมาะกับการเลี้ยงไหมแบบกิ่ง ใบมีลักษณะที่นุ่มหนาปานกลางทำให้เหี่ยวช้าหลังเก็บเกี่ยวสามารถเก็บไว้ได้นาน ใบหม่อนไม่ร่วงง่ายผลผลิตใบจึงสูงขึ้นและเก็บเกี่ยวได้นาน มีคุณค่าทางอาหารสูงใกล้เคียงกับหม่อนน้อย ขยายพันธุ์ได้ง่าย ต้านทานต่อโรคราแป้งได้ดี

ดาวโหลดข้อมูล

<< กลับสู่หน้ารายการ