<< กลับสู่หน้ารายการ
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ
หม่อนบุรีรัมย์ 60
- ประวัติ
- ปี พ.ศ.2525 สถานีทดลองหม่อนไหมศรีสะเกษ และสถานีทดลองหม่อนไหมบุรีรัมย์ ได้นำท่อนพันธุ์หม่อนหมายเลข 44 มาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตดี มีใบใหญ่หนา ข้อปล้องถี่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง แต่ขยายพันธุ์โดยใช้ท่อนพันธุ์ไม่ได้เพราะอัตราการออกรากต่ำ ส่วนหม่อนน้อยเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่เกษตรกรนิยมปลูก การเจริญเติบโตดีขยายพันธุ์โดยตัดกิ่งปักชำ ดังนั้นสถานีทดลองหม่อนไหมบุรีรัมย์จึงทำการผสมพันธุ์หม่อน 2 พันธุ์ในปีพ.ศ.2526-2529 โดยมีเป้าหมายที่จะใช้เป็นท่อนพันธุ์ปักชำ
- ลักษณะประจำพันธุ์
- ใบรูปไข่ ผิวใบเรียบ ก้านใบยาว 4.3 เซนติเมตร ทรงต้นตั้งตรง ระยะของปล้อง 5.0 เซนติเมตร มีดอกเป็นดอกตัวเมีย
- ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
- หม่อนบุรีรัมย์ 60
- พื้นที่แนะนำ
- -
- ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
- ไม่เหมาะกับการปลูกในที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ขาดการปรับปรุงบำรุงดิน และปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอ
- หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
- สถานีทดลองหม่อนไหมบุรีรัมย์ สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร
- วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
- 14 ม.ค. 2531
- ประเภทพันธุ์
- พันธุ์รับรอง
- ลักษณะเด่น
- ผลผลิต 4,328 กิโลกรัมต่อไร่ อัตราการออกรากมาก การเจริญเติบโตดี ตอบสนองต่อปุ๋ยสูง ลักษณะขอบใบไม่มีแฉก ขนาดใบใหญ่ หนา อ่อนนุ่ม ไม่เหี่ยวง่าย พื้นที่ใบมีมาก เป็นหมอนเพศเมีย ที่มีอัตราการแตกรากดี จึงใช้ท่อนพันธุ์ที่มีอายุตั้งแต่ 6-10 เดือน ปักชำ หรือปลูกในแปลงได้โดยตรง ต้นเป็นทรงพุ่ม การตัดแต่งกิ่งมีทรงพุ่มดี มีลักษณะตั้งตรงหลังเก็บเกี่ยว หรือตัดแต่งกิ่งมีการแตกกิ่งเร็วไม่พักตัวในทุกฤดูกาลจึงทำให้มีใบเลี้ยงไหมได้ตลอดปี
- ประเภทพืช
- หม่อนไหม
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ