<< กลับสู่หน้ารายการ
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ
ไหมอุบลราชธานี 60
- ประวัติ
- ไหมสายพันธุ์ญี่ปุ่นได้จากการคัดเลือกพันธุ์ไหมลูกผสม GuangNongNo.3 ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานให้สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนครเมื่อ ปีพ.ศ.2524 ในระยะเริ่มต้นจาก F1-F4 ดำเนินการศึกษาพันธุ์และคัดเลือกที่สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร หลังจากนั้น สถานีทดลองหม่อนไหมอุบลราชธานีได้ดำเนินการต่อ โดยปรับปรุงให้เป็นพันธุ์ไหม ที่มีลำตัวหนอนไหมขาวปลอด รูปร่างรังไหมคอดกลาง รังไหมสีขาว คัดเลือกชนิดของไข่ไหมให้เป็นชนิดที่ฟักออก 2 ครั้งต่อปี ตามธรรมชาติ ปรับปรุงพันธุ์ได้ลักษณะหนอนไหม รังไหมมีความสม่ำเสมอไม่มีการกระจายพันธุ์
- ลักษณะประจำพันธุ์
- การฟักตัวสามารถออกตามธรรมชาติปีละ 2 ครั้ง จำนวนไข่ไหมต่อแม่ประมาณ 354 ฟอง หนอนไหมมีลำตัวขาวปลอด มีความแข็งแรงสูงเจริญเติบโตได้ดีในทุกฤดูกาล เลี้ยงง่าย และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในประเทศไทย อายุหนอนไหมประมาณ 18-21 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับไหมพันธุ์ไทยจึงเหมาะสำหรับใช้เป็นพ่อ-แม่พันธุ์ในการผลิตไข่ลูกผสมชั่วที่ 1 ในปริมาณมาก ให้เปอร์เซ็นต์ดักแด้สมบูรณ์ 80 เปอร์เซ็นต์ เปลือกรังสีขาวคอดกลาง เปอร์เซ็นต์เปลือกรัง 18 เปอร์เซ็นต์ และมีน้ำหนักเฉลี่ย 1 รัง 20 เซนติกรัม
- ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
- ไหมอุบลราชธานี 60
- พื้นที่แนะนำ
- เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของไทยในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงไหม
- ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
- -
- หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
- สถานีทดลองหม่อนไหมอุบลราชธานี สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร
- วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
- 18 ก.ค. 2531
- ประเภทพันธุ์
- พันธุ์รับรอง
- ลักษณะเด่น
- ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมือง 30 เปอร์เซ็นต์ ความยาวเส้นใย 650 เมตร ในขณะที่พันธุ์พื้นเมืองมีความยาวเส้นใยเพียง 350-400 เมตร
- ประเภทพืช
- หม่อนไหม
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ