สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่







<< กลับสู่หน้ารายการ

ยางพาราพันธุ์ กวก. สงขลา 36



ดาวโหลดข้อมูล
ประวัติ
ปี พ.ศ.2496 พ.ศ.2501 พ.ศ.2504 และ พ.ศ.2505 สถานีทดลองยางสงขลา ได้ดำเนินการผสมพันธุ์ยางจากพันธุ์แม่พันธุ์พ่อต่าง ๆ นำไปทดสอบผลผลิตเบื้องต้นในปี พ.ศ.2509 ได้ลูกผสมระหว่าง พันธุ์ PB5/63 กับ PR 107 มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูง ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2510-2526 ทำการคัดเลือกพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตสูงตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ของกรมวิชาการเกษตร พบว่าให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์รับรองที่มีอยู่
ลักษณะประจำพันธุ์
ลักษณะเป็นรูปทรงฉัตรแบบเปิดล่าง ทรงพุ่มรูปทรงไม้กวาด ใบสีเขียวอ่อน ไม่เป็นมัน ก้านใบเว้า ก้านใบย่อยค่อนข้างสั้น ตา ก้านใบชิดฐาน ก้านใบเสมอกับลำต้น เปลือกบริเวณส่วนสีน้ำตาล มีผิวเรียบ ลำต้นตรง กลม เมล็ดขนาดปานกลางสีน้ำตาลและน้ำตาลเข้ม รูปร่างกลม สันเมล็ดนูนเล็กน้อย
ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
ยางพาราพันธุ์ กวก. สงขลา 36
พื้นที่แนะนำ
ปลูกได้ในพื้นที่ปลูกยางทั่วไป
ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
-
หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร
วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
03 เม.ย. 2535
ประเภทพันธุ์
พันธุ์รับรอง
ลักษณะเด่น
ผลผลิตเนื้อยางแห้ง 313 กิโลกรัมต่อไร่ต่อต้นต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 35 เปอร์เซ็นต์และสูงกว่าพันธุ์ GT1 41 เปอร์เซ็นต์ จำนวนท่อน้ำยางมากกว่าพันธุ์ RRIM 600 และ GT1 ผลผลิตเนื้อยางแห้งในช่วงผลัดใบลดลงน้อยกว่าพันธุ์ RRIM 60O เเละ GT1 ต้านทานโรคที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ การเจริญเติบโตดีทั้งในระหว่างก่อนเปิดกรีดและระหว่างเปิดกรีดน้ำยาง เหมาะสำหรับการนำไปใช้ในอุตสาหกรรม

ดาวโหลดข้อมูล

<< กลับสู่หน้ารายการ