สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่







<< กลับสู่หน้ารายการ

ข้าวเจ้าลูกแดงปัตตานี



ดาวโหลดข้อมูล
ประวัติ
ข้าวเจ้าพันธุ์ลูกแดงปัตตานี เป็น 1 พันธุ์ ที่ทนทานต่อสภาพดินเปรี้ยวและดินเค็มได้ดี โดยได้รวบรวมพันธุ์ข้าวลูกแดงจาก อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี มาปลูกในโรงเรือนที่สถานีทดลองข้าวปัตตานี ปี พ.ศ.2528 และได้ทำการปรับปรุงพันธุ์ตามขั้นตอนต่าง ๆ ทั้งในสถานีในนาราษฎร์ และศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง พร้อมทั้งการผลิตเมล็ดพันธุ์ขยายให้กับกรมพัฒนาที่ดิน นำไปปลูกในแปลงสาธิตของโครงการพัฒนาดินเปรี้ยวและดินเค็มภาคใต้ พื้นที่จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง และจังหวัดนครศรีธรรมราช ปีละประมาณ 5-10 ตัน
ลักษณะประจำพันธุ์
ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง เก็บเกี่ยวประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ สูงประมาณ 167 เซนติเมตร ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์ กอตั้ง ใบเเละกาบใบสีเขียว รวงยาว แน่นปานกลาง ระแง้ถี่ เมล็ดยาวเรียว มีอมิโลสปานกลาง ท้องไข่ค่อนข้างมากเปลือกสีน้ำตาล-แดงเข้ม
ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
ข้าวเจ้าลูกแดงปัตตานี
พื้นที่แนะนำ
ปลูกในพื้นที่มีปัญหาดินเปรี้ยวและดินเค็มจังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังวัดสตูล จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส
ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
ไม่ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง
หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
17 มิ.ย. 2537
ประเภทพันธุ์
พันธุ์แนะนำ
ลักษณะเด่น
ผลผลิต 418 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานโรคไหม้ปานกลาง ข้าวสุกอ่อนนุ่ม กลิ่นหอมเล็กน้อย มีความทนทานต่อสภาพดินเปรี้ยว และดินเค็มภาคใต้ได้ดี

ดาวโหลดข้อมูล

<< กลับสู่หน้ารายการ