สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่







<< กลับสู่หน้ารายการ

ข้าวเจ้าเล็บนกปัตตานี



ดาวโหลดข้อมูล
ประวัติ
สถานีทดลองข้าวปัตตานี ได้เก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่นิยมปลูกภาคใต้ เมื่อปีพ.ศ.2527 จำนวน 307 พันธุ์ ทำการพัฒนาพันธุ์ตามขั้นตอนต่าง ๆ ของการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ตั้งแต่ปีพ.ศ.2527-2536 พบว่าสายพันธุ์เล็บนก PTNC84210 จากตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง ให้ผลผลิตสูงได้รับการประเมินเป็นสายพันธุ์ดี
ลักษณะประจำพันธุ์
ข้าวไวต่อช่วงแสง เก็บเกี่ยวเดือนกุมภาพันธ์ ต้นสูงประมาณ 170 เซนติเมตร ระยะพักตัวของเมล็ด 3 สัปดาห์ กอตั้งใบและกาบใบสีเขียว คอรวงยาวมาก ช่วงเก็บเกี่ยวใบแห้งเกือบหมด เมล็ดค่อนข้างป้อมข้าวเปลือกสีฟาง ยอดเมล็ดสีม่วง ท้องไข่ปานกลาง คุณภาพการสีดีมาก มีอมิโลสสูง 26 เปอร์เซ็นต์ ข้าวสุกอ่อนนุ่ม
ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
ข้าวเจ้าเล็บนกปัตตานี
พื้นที่แนะนำ
พื้นที่นาลุ่ม น้ำแห้งเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดพัทลุง
ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
อ่อนแอต่อโรคไหม้ในระยะกล้า จึงควรหลีกเลี่ยงการตกกล้าแห้ง และอายุการเก็บเกี่ยวล่ากว่าพันธุ์มาตรฐานจึงไม่ควรปลูกในพื้นที่นาดอน เพราะจะขาดน้ำ
หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
17 มิ.ย. 2537
ประเภทพันธุ์
พันธุ์แนะนำ
ลักษณะเด่น
ผลผลิตค่อนข้างสูงประมาณ 480 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อปลูกในสภาพนาซึ่งเป็นที่ลุ่ม น้ำแห้งช้า มีคุณภาพการหุงต้มดี ข้าวสุกอ่อนนุ่มรสชาติเป็นที่นิยมของผู้บริโภคข้าวอ่อนนุ่มในภาคใต้
ประเภทพืช
ข้าว

ดาวโหลดข้อมูล

<< กลับสู่หน้ารายการ