<< กลับสู่หน้ารายการ
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ
มะขามเปรี้ยวพันธุ์ กวก. ศรีสะเกษ
- ประวัติ
- ปี พ.ศ.2525 โครงการรวบรวมและศึกษาพันธุ์มะขามเปรี้ยว ทำการสำรวจและรวบรวมต้นพันธุ์มะขามเปรี้ยวที่ให้ผลผลิตสูง เเละคุณภาพดี ที่เกษตรกรปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกได้ 29 พันธุ์ และนำยอดพันธุ์ของต้นพันธุ์แม่ ศรีสะเกษ 019 ซึ่งปลูกอยู่ที่ริมถนนสายอำเภอหนองวัวซอ-จังหวัดอุดรธานีขณะนั้นต้นพันธุ์แม่อายุได้ 40 ปี และพันธุ์อื่น ๆ มาเปลี่ยนต้นตอในแปลงรวบรวมพันธุ์มะขามเปรี้ยวซึ่งปลูกไว้ เมื่อปีพ.ศ.2526 ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ปี พ.ศ.2529-2535 เปลี่ยนยอดพันธุ์มะขามเปรี้ยวได้ 29 พันธุ์ ๆ ละ 5 ต้น ศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ จำแนกพันธุ์ การระบาดและการทำลายของหนอนเจาะฝักมะขามเปรี้ยว
- ลักษณะประจำพันธุ์
- ทรงพุ่มเป็นรูปครึ่งวงกลม ดอกสีเหลืองริ้วแดง ออกดอกรุ่นแรกปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม ระยะดอกบานใช้เวลา 25 วัน จากดอกบานถึงติดฝัก 9 วัน และอีก 23 วัน ฝักจึงแก่เก็บเกี่ยวได้ ฝักสีน้ำตาล ขนาดฝักใหญ่ตรง รสชาติเปรี้ยว จำนวนฝักเฉลี่ย 55 ฝักต่อกิโลกรัม
- ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
- มะขามเปรี้ยวพันธุ์ กวก. ศรีสะเกษ
- พื้นที่แนะนำ
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคเหนือ และภาคกลางสามารถปลูกได้ดีในดินแทบทุกชนิดได้แก่ ดินทรายดินเหนียว ดินลูกรัง แต่ดินที่เหมาะสมที่สุด คือ ดินร่วนปนทราย และควรมีการระบายน้ำได้ดี
- ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
- สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม ควรมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 36.60 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด เฉลี่ย 20.5 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนต่อปีประมาณ 1,376.6 มิลลิเมตร และมีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์
- หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
- ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร
- วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
- 17 มิ.ย. 2537
- ประเภทพันธุ์
- พันธุ์แนะนำ
- ลักษณะเด่น
- ผลผลิตสูงประมาณ 25.6 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของ 29 พันธุ์ มะขามเปรี้ยวศรีสะเกษ 019 จะให้ผลผลิตสูงกว่าถึง 100 เปอร์เซ็นต์ มีเปลือกฝักหนาไม่แตกง่าย ลักษณะฝักตรง ทำให้สะดวกในการเก็บเกี่ยวและการแกะเอาเปลือกและเมล็ดออก
- ประเภทพืช
- พืชสวน
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ