สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่







<< กลับสู่หน้ารายการ

ข้าวเจ้าสุพรรณบุรี 2



ดาวโหลดข้อมูล
ประวัติ
ข้าวเจ้าพันธุ์สุพรรณบุรี 2 ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่าง กข 23 กับ ไออาร์ 60 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี ในปีพ.ศ.2526 ปีพ.ศ.2527-2534 คัดเลือกได้สายพันธุ์ SPRLR83260-143-1-1 ปลูกศึกษาพันธุ์เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีและระหว่างสถานี ปี พ.ศ.2534 แนะนำให้เกษตรกรปลูก เพื่อแก้ปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ลักษณะประจำพันธุ์
อายุเก็บเกี่ยวเมื่อปลูกแบบปักดำ ประมาณ 115 วัน ต้นสูงประมาณ 112 เซนติเมตร ทรงกอตั้ง ใบและกาบใบสีเขียว ใบมีขนใบธงค่อนข้างตั้งตรง ช่วงเก็บเกี่ยวใบแก่ช้าปานกลาง รวงยาวแน่นปานกลาง ระแง้ค่อนข้างถี่ คอรวงยาว ข้าวเปลือกสีฟาง รูปร่างข้าวกล้องยาวเรียวยาว 7.3 มิลลิเมตร กว้าง 2.2 มิลลิเมตร หนา 1.8 มิลลิเมตร น้ำหนักข้าวเปลือก 100 เมล็ด 2.68 กรัม ปริมาณอมิโลส 22.1 เปอร์เซ็นต์ ข้าวสุกอ่อนนุ่ม ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 6 สัปดาห์
ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
ข้าวเจ้าสุพรรณบุรี 2
พื้นที่แนะนำ
เขตพื้นที่ปลูกข้าวชลประทานของภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก
ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
ในสภาพธรรมชาติไม่ต้านทานโรคใบขีดสีน้ำตาลระยะออกรวง และโรคกาบใบเน่า
หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชากรเกษตร
วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
15 ธ.ค. 2537
ประเภทพันธุ์
พันธุ์รับรอง
ลักษณะเด่น
อายุการเก็บเกี่ยวสั้นกว่า กข 23 และสุพรรณบุรี 90 คุณภาพเมล็ดสูง ทำข้าว 100 เปอร์เซ็นต์ ได้ดีต้านทานโรคไหม้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้ง ทนทานต่อโรคใบหงิก ให้ผลผลิตเฉลี่ย 700 กิโลกรัมต่อไร่ ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยดี คุณภาพข้าวสุกอ่อน
ประเภทพืช
ข้าว

ดาวโหลดข้อมูล

<< กลับสู่หน้ารายการ