<< กลับสู่หน้ารายการ
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ
เผือกพันธุ์ กวก. พิจิตร 1
- ประวัติ
- เผือกพันธุ์ พิจิตร 1 ได้มาจากการรวบรวมพันธุ์เผือกจากแหล่งต่าง ๆ ในประเทศไทยและจากต่างประเทศมาศึกษาพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตรตั้งแต่ปีพ.ศ.2531 เป็นเผือกพื้นเมือง 27 พันธุ์ จากต่างประเทศ 33 พันธุ์จำแนกเป็นเผือกหอม 14 พันธุ์ และเผือกไม่หอม 46 พันธุ์ ทำการรวบรวม คัดเลือกปลูกศึกษาพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร จำนวน 60 พันธุ์ ปี พ.ศ.2531 ถึง 2532 และทำการประเมินผลผลิตตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ของกรมวิชาการเกษตรตั้งแต่ปีพ.ศ.2533-2538
- ลักษณะประจำพันธุ์
- หัวเผือกรูปรีแกมรูปไข่ สีเหลืองทอง เนื้อในสีขาวปนม่วง ใบรูปหัวใจ ต้นสูง 98 เซนติเมตร มีหน่อขนาดเล็กขึ้นอยู่รอบต้น 12 หน่อต่อต้น อายุเก็บเกี่ยว 180 วัน
- ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
- เผือกพันธุ์ กวก. พิจิตร 1
- พื้นที่แนะนำ
- ปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย ในพื้นที่ที่มีระบบน้ำชลประทานดี สามารถปลูกเผือกได้ตลอดปี ส่วนในพื้นที่ที่อยู่นอกเขตชลประทานควรปลูกเผือกในช่วงฤดูฝน
- ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
- ไม่ต้านทานต่อโรคใบไหม้ซึ่งถ้าพบมีการระบาดของโรคใบไหม้ ควรมีการตัดใบเผือกที่เป็นโรคไปเผาทำลายและทำการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคตามความเหมาะสม
- หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
- ศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร
- วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
- 24 ก.ค. 2540
- ประเภทพันธุ์
- พันธุ์แนะนำ
- ลักษณะเด่น
- ให้ผลผลิตสูงกว่าเผือกหอมพันธุ์เชียงใหม่ ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ คือให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,968 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนเผือกหอมพันธุ์เชียงใหม่ได้ 1,513 กิโลกรัมต่อไร่ มีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง 23 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าเผือกหอมพันธุ์เชียงใหม่ 13.9 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำตาล 2.6 เปอร์เซ็นต์ มีการแตกหน่อข้างห่างจากต้นแม่มากกว่าและมีจำนวนหน่อต่อต้น 12 หน่อ น้อยกว่าเผือกหอมพันธุ์เชียงใหม่ 25 หน่อ จึงประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการปลิดหน่อข้างออก
- ประเภทพืช
- พืชสวน
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ