<< กลับสู่หน้ารายการ
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ
พริกชี้ฟ้าพันธุ์ กวก. พิจิตร 1
- ประวัติ
- ศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร ได้รวบรวมพันธุ์พริกชี้ฟ้าที่เกษตรกรแต่ละภูมิภาคปลูกเป็นการค้า รวมทั้งนำพันธุ์มาจากต่างประเทศนำมาปลูกศึกษาพันธุ์จำนวน 15 พันธุ์ ในปี พ.ศ. 2527 และทำการเปรียบเทียบพันธุ์คัดเลือกพันธุ์จากแปลงรวบรวม และศึกษาพันธุ์พ.ศ.2528-2534 พบว่ามี 5 พันธุ์ ที่ให้ผลผลิตสูง และให้ผลมีคุณภาพในการทำเป็นพริกแห้งได้ดี แต่เป็นพันธุ์ที่มีความแปรปรวนในพันธุ์เล็กน้อยจึงได้นำทั้ง 5 พันธุ์ มาคัดเลือกให้ได้สายพันธุ์บริสุทธิ์ พันธุ์ใหม่ที่มีความสม่ำเสมอ
- ลักษณะประจำพันธุ์
- ลำต้นสีเขียวสูง 117 เซนติเมตร ทรงพุ่มรูปตัววี ใบสีเขียว ดอกสีขาว ผลอ่อนสีเขียว ความหนาของเนื้อผลสด 1.16 มิลลิเมตร เมล็ดสีเหลืองมีจำนวน 75 เมล็ดต่อผล จำนวนเมล็ดต่อ 100 กรัม มี 25,850 เมล็ด ผลดก เก็บเกี่ยวได้เร็ว ให้ผลผลิตครั้งแรก 78 วัน และครั้งสุดท้าย 150 วันหลังปลูก อัตราส่วนพริกสดต่อพริกแห้ง 4.5 ต่อ 1 และมีสารแคบไซซิน (capsaicin) ที่เป็นสารให้ความเผ็ดเฉลี่ย 3.37 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งดีกว่าและมากกว่าพันธุ์บางช้างเล็กน้อย
- ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
- พริกชี้ฟ้าพันธุ์ กวก. พิจิตร 1
- พื้นที่แนะนำ
- ปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ซึ่งมีดินร่วนหรือร่วนปนทราย ไม่เป็นดินเหนียวจัดมีการระบายน้ำดีเป็นพริกชี้ฟ้าที่ปลูกได้ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง ควรใช้ระยะปลูก 50x50 เซนติเมตร จำนวน 2 ต้นต่อหลุม
- ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
- เนื่องจากเป็นพริกที่ไม่ต้านทานโรคกุ้งแห้งหรือโรคแอนแทรคโนส ดังนั้นถ้ามีฝนตกติดต่อกันหลายวันในช่วงฤดูฝนควรพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคกุ้งแห้งหรือโรคแอนแทรคโนสที่เกิดกับผลด้วย
- หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
- ศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร
- วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
- 24 ก.ค. 2540
- ประเภทพันธุ์
- พันธุ์แนะนำ
- ลักษณะเด่น
- ผลผลิตพริกแห้งเฉลี่ย 378 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์บางช้างประมาณ 37 เปอร์เซ็นต์ คุณภาพดีตรงกับความต้องการของตลาดคือเมื่อเป็นพริกแห้งจะมีผิวค่อนข้างเรียบเป็นมัน(พันธุ์บางช้างมีผิวค่อนข้างย่นกว่า)ใช้เวลาตากแห้งเพื่อทำพริกแห้งประมาณ 3-7 วัน ซึ่งน้อยกว่าพันธุ์บางช้าง
- ประเภทพืช
- พืชสวน
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ