สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่







<< กลับสู่หน้ารายการ

ข้าวเจ้าข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี



ดาวโหลดข้อมูล
ประวัติ
ข้าวเจ้าพันธุ์ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี ได้มาจากการผสม 3 ทาง และคัดเลือกข้าวพันธุ์ผสมแบบสืบตระกูลระหว่างลูกผสมชั่วที่ 1 ของ SPR84177-8-2-2-2-1 และ SPR85091-13-1-1-4(แม่) กับขาวดอกมะลิ 105 (พ่อ) ปี พ.ศ.2532 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี และทำการประเมินผลผลิตตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ของกรมวิชาการเกษตร ปีพ.ศ.2533-2540 ทำการปลูกเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ฤดูนาปีและนาปรัง ปีพ.ศ.2538-2540 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี และเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี ปี พ.ศ.2539 ฤดูฝนที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถานีทดลองข้าวคลองหลวง สถานีทดลองข้าวบางเขน และสถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี ได้สายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติคล้ายข้าวขาวดอกมะลิ 105
ลักษณะประจำพันธุ์
อายุเก็บเกี่ยวเมื่อปลูกแบบปักดำประมาณ 120 วัน ต้นสูงประมาณ 126 เซนติเมตร ทรงกอตั้ง ลำต้นแข็งไม่ล้มง่าย ใบสีเขียวอ่อน กาบใบสีเขียว ใบมีขนใบธงตั้งตรง ช่วงเก็บเกี่ยวใบแก่ช้า รวงยาวแน่นปานกลางระแง้ถี่คอรวงโผล่จากกาบใบธงเล็กน้อย ข้าวเปลือกสีฟาง มีขนสั้นบนเปลือกเมล็ด รูปร่างข้าวกล้องยาวเรียว ยาว 7.69 มิลลิเมตร กว้าง 2.12 มิลลิเมตร หนา 1.81 มิลลิเมตร น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 29.7 กรัม ข้าวสุกหอมนุ่ม ปริมาณอมิโลส 18.72 เปอร์เซ็นต์ ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3-4 สัปดาห์ ให้ผลผลิตประมาณ 673 กิโลกรัมต่อไร่ ในฤดูนาปรัง และ 582 กิโลกรัมต่อไร่ ในฤดูนาปี
ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
ข้าวเจ้าข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี
พื้นที่แนะนำ
พื้นที่นาชลประทาน เขตจังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดกาญจนบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง
ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
ค่อนข้างไม่ต้านทานต่อโรคไหม้ และไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคใบหงิก และโรคใบสีส้ม
หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
27 ต.ค. 2540
ประเภทพันธุ์
พันธุ์แนะนำ
ลักษณะเด่น
ข้าวเจ้าหอมมีคุณภาพ เมล็ดทางกายภาพและทางเคมีคล้ายข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงปลูกได้ตลอดปี อายุประมาณ 120 วัน เมื่อปลูกแบบปักดำ ค่อนข้างต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดหลังขาวดีกว่าขาวดอกมะลิ 105

ดาวโหลดข้อมูล

<< กลับสู่หน้ารายการ