<< กลับสู่หน้ารายการ
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ
สับปะรดพันธุ์ กวก. เพชรบุรี
- ประวัติ
- ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร และสถานีทดลองพืชสวนเพชรบุรี ได้ดำเนินการรวบรวมและศึกษาพันธุ์สับปะรดจากภายในและต่างประเทศจำนวน 10 และ 12 พันธุ์ ตามลำดับ เพื่อให้ได้สับปะรดพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูง มีรสชาติตรงตามความต้องการของตลาด ปรับตัวได้เหมาะสมในแต่ละสภาพท้องถิ่น และมีคุณลักษณะดีเด่นในด้านรับประทานผลสด และมีการเจริญเติบโตดี
- ลักษณะประจำพันธุ์
- ทรงต้นมีการแตกหน่อ ใบสั้นสีเขียวอ่อนปนม่วง พบหนามบริเวณขอบใบโดยสม่ำเสมอตลอดทั้งใบ มี 50 ใบต่อต้น ดอกสีน้ำเงินปนม่วง ดอกย่อยต่อผลประมาณ 93 ดอก น้ำหนักผลประมาณ 1,000 กรัม ผลเป็นทรงเจดีย์ ตาผลใหญ่ พองนูนเล็กน้อย สีเปลือกเหลืองอมส้ม มีตะเกียงที่ก้านผล 2-3 ตะเกียง
- ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
- สับปะรดพันธุ์ กวก. เพชรบุรี
- พื้นที่แนะนำ
- ปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย สามารถเจริญเติบโตได้ดีแม้ในสภาพอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง แต่ไม่ชอบพื้นที่มีน้ำขังแฉะ และเป็นพันธุ์ที่ไม่เหมาะกับอุตสาหกรรมแปรรูป
- ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
- -
- หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
- ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร สถานีทดลองพืชสวนเพชรบุรี สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร
- วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
- 18 มี.ค. 2541
- ประเภทพันธุ์
- พันธุ์แนะนำ
- ลักษณะเด่น
- ผลผลิต 5.3 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ภูเก็ต และสวี ซึ่งอยู่ในกลุ่มพันธุ์เดียวกัน 17.7 เปอร์เซ็นต์ และ 23.2 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ รสชาติหวานอมเปรี้ยว ปริมาณ soluble solids สูงถึง 16.9 องศาบริกซ์ และมีปริมาณกรดค่อนข้างต่ำเท่ากับ 0.45 เปอร์เซ็นต์ มีกลิ่นหอมแรง เนื้อกรอบใกล้เคียงกับพันธุ์สวี และภูเก็ต สีเนื้อเหลืองอมส้มสม่ำเสมอ สามารถแกะแยกผลย่อยหรือตา (fruitlet) ออกจากกันโดยง่าย และรับประทานแกนผลได้
- ประเภทพืช
- พืชสวน
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ