สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่







<< กลับสู่หน้ารายการ

ข้าวเจ้าปราจีนบุรี 1



ดาวโหลดข้อมูล
ประวัติ
ปีพ.ศ.2519 สร้างคู่ผสมรวมคู่ที่ 3 ปีพ.ศ.2520-2524 ปลูกคัดเลือกข้าวพันธุ์ผสมรวม และปลูกศึกษาพันธุ์ปีพ.ศ.2525-2536 ทำการเปรียบเทียบผลผลิตตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ของกรมฯพบว่าให้ผลผลิตสูง
ลักษณะประจำพันธุ์
ทรงกอค่อนข้างตั้ง ลำต้นล้มง่าย ต้นสูงประมาณ 170 เซนติเมตร ที่ระดับน้ำตื้นและสามารถยืดปล้องได้ปานกลางในระดับน้ำลึก ใบและกาบใบสีเขียว ใบมีขนใบธงตก เก็บเกี่ยวประมาณ 25 ธันวาคม ช่วงเก็บเกี่ยวใบแห้งเกือบหมด รวงยาวแน่นปานกลาง ระแง้ถี่มาก คอรวงสั้น ข้าวเปลือกสีฟาง มีขนสั้นบนเปลือกเมล็ด รูปร่างข้าวกล้องยาวเรียว ยาว 7.4 มิลลิเมตร กว้าง 2.4 มิลลิเมตร หนา 1.8 มิลลิเมตร น้ำหนักข้าวเปลือก 100 x 2.89 กรัม ข้าวสารมีท้องไข่มาก ปริมาณอมิโลส 26.2 เปอร์เซ็นต์ ข้าวสุกร่วนแข็ง ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 7 สัปดาห์
ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
ข้าวเจ้าปราจีนบุรี 1
พื้นที่แนะนำ
เขตที่ราบลุ่ม น้ำลึกไม่เกิน 100 เซนติเมตร ในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งมีน้ำท่วมขังแปลง นาน 1-3 เดือน และน้ำแห้งปลายเดือนธันวาคม
ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
ไม่ต้านทานต่อโรคใบสีส้ม เพลี้ยจักจั่นสีเขียว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนควรใส่ประมาณ 3 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ (หรือปุ๋ย 16-20-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่)ในสภาพดินปกติ แต่ถ้าเป็นดินเปรี้ยวอาจต้องใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมากถึง 10 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่
หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
ศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
30 ก.ย. 2541
ประเภทพันธุ์
พันธุ์รับรอง
ลักษณะเด่น
ข้าวเจ้าทนน้ำลึกให้ผลผลิตสูง เฉลี่ย 500 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์หันตรา 60 และ กข 19 ถึง 18 และ 23 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ คุณภาพการสีเป็นข้าวขาว 10-15 เปอร์เซ็นต์ ทนน้ำท่วมปานกลาง สามารถจมอยู่ใต้น้ำได้นาน 7-10 วัน ยืดปล้องได้ปานกลาง ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาน้ำท่วมเป็นเวลานานได้ ทนแล้งและทนดินเปรี้ยวปานกลาง ตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนได้ดีในสภาพดินเปรี้ยว ต้านทานต่อโรคใบไหม้และโรคใบขีดโปร่งแสงปานกลาง เหมาะสำหรับการแปรรูปเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวขนมจีนและแป้ง

ดาวโหลดข้อมูล

<< กลับสู่หน้ารายการ