สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่







<< กลับสู่หน้ารายการ

ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1



ดาวโหลดข้อมูล
ประวัติ
ข้าวเจ้าหอม พิษณุโลก 1 ไดัจากการผสม 3 ทาง ระหว่างพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และสายพันธุ์ LA29'73-NF1U-14-3-1-1 กับ IR58 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี ปีพ.ศ.2525-2536 นำมาปลูกคัดเลือกที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ตั้งแต่ชั่วที่ 2-7 ปี พ.ศ.2528-2533 และทำการเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีตั้งแต่ปี พ.ศ.2535-2539 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สถานีทดลองข้าวโคกสำโรง และสถานีทดลองข้าวชัยนาท ได้พันธุ์ที่มีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอ
ลักษณะประจำพันธุ์
ต้นสูงประมาณ 160 เซนติเมตร ทรงกอตั้ง ลำต้นแข็งปานกลาง ใบและกาบใบสีเขียว ใบมีขนใบธงเอนทำมุมแคบกับคอรวง วันเก็บเกี่ยวประมาณ 25 พฤศจิกายน ช่วงเก็บเกี่ยวใบแห้งเกือบหมด รวงยาวแน่นปานกลาง ระแง้ถี่ คอรวงยาว ข้าวเปลือกสีฟาง มีขนสั้นบนเปลือกเมล็ด รูปร่างข้าวกล้องยาวเรียว ยาว 7.41 มิลลิเมตรกว้าง 2.16 มิลลิเมตร หนา 1.78 มิลลิเมตร น้ำหนักข้าวเปลือก 100 เมล็ด 2.88 กรัม ปริมาณอมิโลส 14.95 เปอร์เซ็นต์ ข้าวสุกนุ่ม ค่อนข้างเหนียว มีกลิ่นหอม ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 11 สัปดาห์
ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1
พื้นที่แนะนำ
พื้นที่ปลูกข้าวนาน้ำฝน ในเขตภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางที่ต้องการข้าวที่มีอายุหนักกว่าขาวดอกมะลิ 105 ประมาณ 1 สัปดาห์ เนื่องจากมีคุณภาพของเมล็ดคล้ายคลึงกับขาวดอกมะลิ 105 จึงสามารถปลูกเสริมข้าวขาวดอกมะลิ 105 และช่วยในการกระจายแรงงานในการเก็บเกี่ยวข้าวได้
ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว และโรคใบสีส้ม
หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
ศูนย์วิจัยข้าวโพดพิษณุโลก สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
30 ก.ย. 2541
ประเภทพันธุ์
พันธุ์รับรอง
ลักษณะเด่น
ผลผลิตเฉลี่ย 579 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานปานกลางต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และโรคใบหงิก คุณภาพเมล็ดดีสามารถสีเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ได้ คุณภาพการหุงต้มและรับประทานดี เหนียวนุ่มและมีกลิ่นหอมเหมือนข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105

ดาวโหลดข้อมูล

<< กลับสู่หน้ารายการ