สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่







<< กลับสู่หน้ารายการ

หม่อนศรีสะเกษ 33



ดาวโหลดข้อมูล
ประวัติ
ปี พ.ศ.2528 ผสมเปิดหม่อนพันธุ์ Jing Mulberry ที่มณฑลกวางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน นำเมล็ดพันธุ์มาปลูกคัดเลือกเบื้องต้นที่ศูนย์วิจัยหม่อนไหมศรีสะเกษ ทำการคัดเลือกครั้งที่ 1 ปี พ.ศ.2529 และทำการปรับปรุงพันธุ์และประเมินผลผลิตตามขั้นตอนของกรมวิชาการเกษตร ตั้งแต่ปีพ.ศ.2529-2541 พบว่ามีความต้านทานโรคใบด่างได้ดี
ลักษณะประจำพันธุ์
ทรงต้นสีน้ำตาลอมเขียว ตั้งตรง ใบนุ่มหนาปานกลางค่อนข้างเลื่อมมัน สีเขียวเข้ม พื้นที่ใบ 218.7 ตารางเซนติเมตร น้ำหนัก 50ใบ 232.5 กรัม มีใบต่อกิ่ง 62.2 เปอร์เซ็นต์ น้ำในใบอ่อน 72.74 เปอร์เซ็นต์ ใบแก่ 67.27 เปอร์เซ็นต์ ในสภาพน้ำหนักแห้งมีโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต 26.65, 3.78 และ 44.35 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักแห้งตามลำดับ
ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
หม่อนศรีสะเกษ 33
พื้นที่แนะนำ
-
ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
อัตราการงอกรากของกิ่งปักชำค่อนข้างต่ำ การขยายพันธุ์ด้วยท่อนพันธุ์ต้องใช้สารกระตุ้นการงอกราก
หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
ศูนย์วิจัยหม่อนไหมศรีสะเกษ สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร
วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
30 ก.ย. 2541
ประเภทพันธุ์
พันธุ์แนะนำ
ลักษณะเด่น
ต้านทานต่อโรคใบด่างดีกว่าพันธุ์บุรีรัมย์ 60 และนครราชสีมา 60 ผลผลิตใบหม่อนไม่แตกต่างจากพันธุ์บุรีรัมย์ 60 และนครราชสีมา 60 คือให้ผลผลิตประมาณ 2,694 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี มีปริมาณโปรตีนในใบสูงกว่าพันธุ์บุรีรัมย์ 60 และนครราชสีมา 60 ใบหม่อนมีการร่วงช้ากว่าพันธุ์บุรีรัมย์ 60 ทำให้มีอายุการเก็บเกี่ยว ได้นาน
ประเภทพืช
หม่อนไหม

ดาวโหลดข้อมูล

<< กลับสู่หน้ารายการ