<< กลับสู่หน้ารายการ
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ
ไหมไทยลูกผสมอุดรธานี
- ประวัติ
- ไหมไทยลูกผสมอุดรธานี ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่าง SKN1 สายพันธุ์จีนรังสีขาว ฟักปีละ 2 ครั้ง กับเขียวสกล พันธุ์พื้นเมือง รังสีเหลือง ฟักตลอดปี เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 ที่สถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร และศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี ทำการศึกษาลักษณะพันธุ์ตั้งแต่ปีพ.ศ.2524-2527 สร้างพันธุ์ลูกผสม SKN1 กับเขียวสกล และทำการคัดเลือกทดสอบ เปรียบเทียบพันธุ์ตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ของกรมวิชาการเกษตร ตั้งแต่ปีพ.ศ.2528-2540
- ลักษณะประจำพันธุ์
- ไข่ไหมสีขาวอมเหลือง จำนวนไข่ไหมต่อแม่ 495 ฟอง ระยะเวลาเจริญเติบโตเป็นหนอนไหม 19 วัน ลำตัวหนอนไหมสีเหลืองอ่อน ขนาดลำตัว 1.5 x 8.0 เซนติเมตร รูปร่างยาวรีน้ำหนักหนอนไหมโตเต็มที่เฉลี่ย 10 ตัว 24.90 กรัม เปอร์เซ็นต์การเลี้ยงรอดวัยอ่อน 91.18 เปอร์เซ็นต์ ดักแด้สมบูรณ์ 91.12 เปอร์เซ็นต์ รังไหมสีเหลืองเข้ม น้ำหนักรังสดเฉลี่ย 1 รัง 1.47 กรัม น้ำหนักเปลือกรังเฉลี่ย 1 รัง 25.14 เซนติกรัม เปอร์เซ็นต์เปลือกรัง 17.12 เปอร์เซ็นต์ เส้นไหมสีเหลือง ขนาดเส้นไหม 2.27 ดีเนียร์ ความยาวเส้นไหมต่อรัง 677 เมตร เปอร์เซ็นต์การสาวง่าย 66 เปอร์เซ็นต์
- ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
- ไหมไทยลูกผสมอุดรธานี
- พื้นที่แนะนำ
- เลี้ยงได้ตลอดปี ในเขตจังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดหนองคาย และจังหวัดเลย
- ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
- -
- หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
- ศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร
- วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
- 29 มี.ค. 2542
- ประเภทพันธุ์
- พันธุ์แนะนำ
- ลักษณะเด่น
- เลี้ยงได้ง่ายปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี อายุในระยะหนอนไหมของพันธุ์พ่อและพันธุ์แม่เท่ากัน ทำให้สะดวกในการผสมพันธุ์และมีประโยชน์ต่อการผลิตไข่ไหม จำนวนไข่ไหม 495 ฟองต่อแม่ น้ำหนักหนอนไหมโตเต็มที่ สูงกว่าพันธุ์ไหมไทยลูกผสมอุบลราชธานี 60-35 มีความต้านทานต่อโรค Nuclear Polyhedrosis Virus(NPV) และมีอัตราการเลี้ยงรอดของระยะหนอนไหมวัยอ่อนสูง
- ประเภทพืช
- หม่อนไหม
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ