<< กลับสู่หน้ารายการ
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ
ข้าวเจ้าสุรินทร์ 1
- ประวัติ
- ข้าวเจ้าพันธุ์สุรินทร์ 1 ได้มาจากการผสมพันธุ์ ระหว่างสายพันธุ์ IR61078 ซึ่งเป็นพันธุ์แม่ กับสายพันธุ์ IR46329-SRN-18-2-2-2 ซึ่งเป็นพันธุ์พ่อ ที่สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ เมื่อปีพ.ศ.2531 นำเมล็ดพันธุ์ผสมชั่วที่ 2 มาปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวสุรินทร์ เมื่อปีพ.ศ.2532 คัดเลือกได้สายพันธุ์ IR62558-SRN-17-2-1-B จึงนำเข้าทดลองศึกษาพันธุ์ระหว่างสถานี การเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี และการทดลองเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ รวมทั้งตรวจสอบคุณภาพเมล็ด ปฏิกิริยาต่อโรคแมลง การตอบสนองปุ๋ย การทนทานดินเค็ม และการทนทานความแห้งแล้ง ปีพ.ศ.2535-2541 พบว่าข้าวสายพันธุ์นี้ให้ผลผลิตสูง
- ลักษณะประจำพันธุ์
- ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวเมื่อปลูกแบบปักดำประมาณ 138 วัน ต้นสูงประมาณ 22 เซนติเมตร ทรงกอตั้ง กาบใบสีเขียว ใบสีเขียวเข้ม มีขนใบธงตั้งตรง ช่วงเก็บเกี่ยวใบแก่ช้า รวงยาวแน่นปานกลาง ระแง้ถี่ คอรวงสั้น ข้าวเปลือกสีฟาง มีขนสั้นบนเปลือกเมล็ด รูปร่างข้าวกล้องยาวเรียว ยาว 7.29 มิลลิเมตร กว้าง 2.22 มิลลิเมตร หนา 1.80 มิลลิเมตร น้ำหนักข้าวเปลือก 100 เมล็ด 2.90 กรัม ข้าวสุกแข็งค่อนข้างร่วน ปริมาณอมิโลส 30.43 เปอร์เซ็นต์ ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 1 สัปดาห์
- ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
- ข้าวเจ้าสุรินทร์ 1
- พื้นที่แนะนำ
- เขตพื้นที่นาน้ำฝนและนาชลประทาน ในฤดูนาปีของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
- ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดเป็นประจำ
- หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
- ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
- วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
- 19 ม.ค. 2543
- ประเภทพันธุ์
- พันธุ์รับรอง
- ลักษณะเด่น
- ผลผลิต 620 กิโลกรัมต่อไร่ ในนาน้ำฝนและนาชลประทานในฤดูนาปี ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยดี ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง ทนทานต่อดินเค็มดีกว่าพันธุ์ กข 15 และขาวดอกมะลิ 105 ทนทานต่อความแห้งแล้งระดับเดียวกับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 รูปร่างเมล็ดยาวเรียว คุณภาพการขัดสีและการหุงต้มดี และสามารถใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น เส้นหมี่ เส้นขนมจีน แผ่นแป้งได้
- ประเภทพืช
- ข้าว
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ