<< กลับสู่หน้ารายการ
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ
ฝ้ายพันธุ์ กวก. ตากฟ้า 2
- ประวัติ
- ฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า 2 ได้จากการผสมข้ามระหว่างพันธุ์ GDI 9-67 กับพันธุ์ Pima 79-106 ในปี พ.ศ.2530 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ทำการคัดเลือกภายใต้การปลูกเชื้อโรคใบหงิกในสภาพไร่ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2531-2533 ที่สถานีทดลองพืชไร่เลย สถานีทดลองพืชไร่พระพุทธบาท ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท สถานีทดลองพืชไร่บ้านใหม่สำโรง สถานีทดลองพืชไร่เพชรบูรณ์ เเละสถานทดลองพืชไร่ศรีสำโรง ถึงชั่วที่ 6 (F6) แล้วจึงทำการผสมข้ามอีกครั้งกับพันธุ์ศรีสำโรง 2 ในปี พ.ศ.2534 หลังจากนั้นได้ทำการคัดเลือกได้สายพันธุ์บริสุทธิ์ (pure line) ที่คงตัวทางพันธุกรรมในปี พ.ศ.2537 เปรียบเทียบเบื้องต้นและทำการเปรียบเทียบมาตราฐาน และทดสอบพันธุ์ระหว่าง ปี พ.ศ.2538-2543 ได้พันธุ์ฝ้ายที่มีคุณภาพดี
- ลักษณะประจำพันธุ์
- ทรงต้นแผ่กระจายสูง 143 เซนติเมตร กลีบดอกสีครีม ดอกกลมปนรี ปุยฝ้ายสีขาว เส้นใยยาว 1.2 นิ้ว ความเหนียวของเส้นใย 20.9 กรัมต่อเท็กซ์ เส้นใยมีความสม่ำเสมอสูงมากถึง 52 เปอร์เซ็นต์ อายุถึงวันดอกบาน 53 วัน อายุเก็บเกี่ยว 120-160 วัน จำนวนเมล็ดต่อสมอ 33 เมล็ด
- ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
- ฝ้ายพันธุ์ กวก. ตากฟ้า 2
- พื้นที่แนะนำ
- มีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตดี สามารถใช้เป็นพันธุ์ปลูกได้ทั่วไปในแหล่งผลิตฝ้ายของประเทศไทย
- ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
- ในแหล่งปลูกที่มีการแพร่ระบาดของแมลงศัตูรฝ้าย ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของกองกีฏและสัตววิทยากรมวิชาการเกษตร
- หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
- ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร
- วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
- 24 พ.ย. 2544
- ประเภทพันธุ์
- พันธุ์รับรอง
- ลักษณะเด่น
- ผลผลิตปุยทั้งเมล็ด เฉลี่ย 309 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ศรีสำโรง 2 ร้อยละ 7 มีความยาวเส้นใยดีกว่าพันธุ์ศรีสำโรง 2 และ ศรีสำโรง 60 มีความเหนียวรั้งความสม่ำเสมอ ตลอดจนความละเอียดอ่อนของเส้นใยอยู่ในระดับเดียวกับพันธุ์ศรีสำโรง 2 และศรีสำโรง 60 มีความต้านทานโรคใบหงิกในสภาพการปลูกเชื้อได้ดีในระดับเดียวกับพันธุ์ศรีสำโรง 2 และศรีสำโรง 60
- ประเภทพืช
- พืชไร่
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ