<< กลับสู่หน้ารายการ
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ
เดือยพันธุ์ กวก. เลย
- ประวัติ
- เดือยข้าวเหนียวพันธุ์เลย ได้รับการคัดเลือกพันธุ์โดยศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่นในปี พ.ศ.2539 โดยทำการรวบรวมเมล็ดพันธุ์จากแหล่งปลูกอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย และทำการคัดเลือกให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่เป็นแป้งข้าวเหนียวทั้งหมด ระหว่างปี พ.ศ.2542-2544 ได้พันธุ์เดือยข้าวเหนียว ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดโดยการผ่าเมล็ดเดือยในส่วนที่เป็น endosperm ประมาณหนึ่งในสี่ส่วน ตรวจสอบความเป็นแป้งข้าวเหนียวโดยใชสารละลาย ปี พ.ศ.2540-2541 สถานีทดลองพืชไร่เลย ได้ทำการปรับปรุงพันธุ์โดยวิธี modified plant to row ให้มีความสม่ำเสมอ ได้พันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตดีและให้ผลผลิตสูง จึงนำเข้าประเมินผลผลิตร่วมกับเดือยพื้นเมืองพันธุ์ต่าง ๆ
- ลักษณะประจำพันธุ์
- ลำต้นสีเขียวอมแดง ทรงพุ่มกว้าง สูง 196 เซนติเมตร ช่อดอกแน่นปานกลาง เปลือกหุ้มเมล็ดสีน้ำตาลเหลือบส้ม เยื่อห้มเนื้อในเมล็ดสีส้ม เป็นเเป้งข้าวเหนียว 100 เปอร์เซ็นต์ จำนวนเมล็ด 609 เมล็ดต่อกอ น้ำหนัก 100 เมล็ด 15.7 กรัม
- ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
- เดือยพันธุ์ กวก. เลย
- พื้นที่แนะนำ
- จังหวัดเลย จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดชัยภูมิ
- ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
- เนื่องจากเดือยพันธุ์นี้เป็นเดือยข้าวเหนียวบริสุทธิ์ และความเป็นแป้งข้าวเหนียวถูกควบคุมด้วยยีนด้อย (recessive gene) แต่ในสภาพการปลูกของเกษตรกรจะมีทั้งเดือยข้าวเหนียวและเดือยข้าวเจ้า เพราะฉะนั้นหากต้องการให้ได้ผลผลิตที่เป็นเดือยข้าวเหนียวล้วนจำเป็นต้องปลูกห่างจากเดือยพันธุ์อื่น ๆ อย่างน้อย 300 เมตร นอกจากนั้นเดือยพันธุ์นี้เป็นพันธุ์ที่ไวต่อช่วงแสง เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด จึงควรปลูกระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน
- หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
- สถานีทดลองพืชไร่เลย สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร
- วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
- 31 มี.ค. 2546
- ประเภทพันธุ์
- พันธุ์แนะนำ
- ลักษณะเด่น
- เป็นพันธุ์เดือยข้าวเหนียว ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด ให้ผลผลิตทั้งเปลือก 299 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์วังสะพุง ร้อยละ 13 มีเปอร์เซ็นต์กะเทาะ 55.6 เปอร์เซ็นต์ และผลผลิตหลังกะเทาะ 167 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์วังสะพุง ร้อยละ 13 และร้อยละ 26 ตามลำดับ
- ประเภทพืช
- พืชไร่
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ