<< กลับสู่หน้ารายการ
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ
ไหมจุลไทย 1
- ประวัติ
- ไหมลูกผสมพันธุ์จุลไทยเบอร์ 1 เป็นพันธุ์ไหมลูกผสมคู่ชนิดฟักออกเป็นตัวปีละ 2 ครั้ง ซึ่งบริษัทจุลไทยแอคโกร-อินดัสตรีส์ จำกัด ได้นำเข้าพันธุ์ไหมลูกผสมเดี่ยว C101 สายพันธุ์ญี่ปุ่น และพันธุ์ไหม T201 สายพันธุ์จีน จากประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 โดยทำการปรับปรุงพันธุ์และศึกษาการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศไทย ได้สายพันธุ์แท้ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2532-2537 นำมาทำเป็นไหมลูกผสมคู่อีกครั้งตามลำดับ โดยคณะเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ภายใต้การควบคุมดูแลของผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับปรุงพันธุ์ไหมชาวญี่ปุ่น
- ลักษณะประจำพันธุ์
- ไข่ไหมหลังวางไข่ภายใน 24 ชั่วโมง สีเหลืองน้ำตาล และหลังจาก 24 ชั่วโมง ไข่ไหมมีสีเทา-ดำ ลำตัวหนอนไหม สีขาวขุ่นอมเทา มีจุดหรือแต้มบนลำตัว 3 จุด ขนาด 0.8-1.2x7.9 เซนติเมตร น้ำหนักตัวโตเต็มที่เฉลี่ย 10 ตัว 44.5 กรัม รังไหมรูปร่างยาวรี ขนาด 2.3x3.6 เซนติเมตร มีรอยย่นค่อนข้างละเอียด อายุหนอนไหม 21 วัน 16 ชั่วโมง เปอร์เซ็นต์ เลี้ยงรอดวัยอ่อน 91.3 เปอร์เซ็นต์ ดักแด้สมบูรณ์ 84.0 เปอร์เซ็นต์ ความยาวเส้นใยต่อรัง 1,063 เมตร ขนาดเส้นไหม 2.5 ดีเนียร์ น้ำหนักเส้นใย 28.0 เซนติกรัม ความเหนียว 3.59 กรัมต่อดีเนียร์
- ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
- ไหมจุลไทย 1
- พื้นที่แนะนำ
- ในเกือบทุกพื้นที่ของประเทศไทย เช่นจังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดชุมพร
- ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
- ไม่เหมาะที่จะเลี้ยงในสภาพอุณหภูมิสูงกว่า 34 องศาเซลเซียส และต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียส
- หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
- ศูนย์วิจัยหม่อนไหมนครราชสีมา สถานีทดลองหม่อนไหมอุบลราชธานีสถานีทดลองหม่อนไหมมุกดาหาร สถานีทดลองหม่อนไหมชุมพรสถานีทดลองหม่อนไหมเชียงใหม่ กรมวิชาการเกษตร
- วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
- 16 พ.ค. 2546
- ประเภทพันธุ์
- พันธุ์รับรอง
- ลักษณะเด่น
- ผลผลิตน้ำหนักรังไหมสด เฉลี่ย 1.75 กรัมต่อรัง จำนวนรังไหม และจำนวนไข่ไหมต่อแม่ สูงกว่าพันธุ์นครราชสีมาลูกผสม ให้คุณภาพรังไหมที่ดีโดยเส้นไหมยาวกว่าพันธุ์นครราชสีมาลูกผสม 116.3 เปอร์เซ็นต์ มีความทนทานต่อโรคแกรสเซอรี่ (โรคเต้อ) ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อ Nuclear Polyhedrosis Virus (NPV) ดีกว่าพันธุ์นครราชสีมาลูกผสม 1
- ประเภทพืช
- หม่อนไหม
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ