สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่







<< กลับสู่หน้ารายการ

ข้าวเจ้าพัทลุง



ดาวโหลดข้อมูล
ประวัติ
ข้าวเจ้าพันธุ์พัทลุง ได้จากการผสมพันธุ์ 3 ทาง ระหว่างข้าวพันธุ์ผสมชั่วที่ 1 คือ สุพรรณบุรี 90 กับ RO2243-7-4(แม่) โดยมีลักษณะเด่นคือให้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคไหม้โรคขอบใบแห้ง ผสมกับสายพันธุ์ IR52280-117-1-1-3(พ่อ) มีลักษณะเด่นคือให้ผลผลิตสูง อายุสั้นต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท ในปี พ.ศ.2535 ทำการคัดเลือกข้าวพันธุ์ผสมตั้งแต่ชั่วที่ 1-6 และศึกษาพันธุ์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2536-2541 ในปี พ.ศ.2542-2543 ทำการศึกษาพันธุ์ชั้นสูง แต่เนื่องจากข้าวยังมีความแปรปรวนในสายพันธุ์จึงคัดเลือกแบบสืบตระกูล ได้จำนวน 6 สายพันธุ์ และปลูกศึกษาต่อขั้นสูงทั้ง 6 สายพันธุ์ สามารถคัดเลือกได้พันธุ์ที่ดีที่สุดคือ CNT92024-4-2-1-1-PTL-2 ปลูกเปรียบเทียบภายในสถานี ปีพ.ศ.2544-2545 และในนาราษฎร์ท้องที่จังหวัดพัทลุงและจังหวัดสงขลา
ลักษณะประจำพันธุ์
อายุเก็บเกี่ยวเมื่อปลูกแบบปักดำ ประมาณ 112 วัน ปลูกแบบหว่านน้ำตมประมาณ 103 วัน ต้นสูงประมาณ 104 เซนติเมตร ทรงกอตั้ง ลำต้นแข็งไม่ล้มง่าย ช่วงเก็บเกี่ยวใบแก่ช้าปานกลาง รวงยาว ระแง้ถี่ปานกลาง คอรวงโผล่เล็กน้อย ข้าวเปลือกสีฟาง มีขนสั้นบนเปลือกเมล็ด รูปร่างข้าวกล้องยาวเรียว น้ำหนักข้าวเปลือก 100 เมล็ด 2.819 กรัม ข้าวสุกร่วนแข็ง ปริมาณอมิโลส 28.9 เปอร์เซ็นต์ ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 6 สัปดาห์
ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
ข้าวเจ้าพัทลุง
พื้นที่แนะนำ
พื้นที่ภาคใต้ที่ต้องการข้าวอายุสั้น โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังที่มีการปลูกข้าวช่วงก่อนน้ำท่วม และหลังน้ำลดเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาน้ำท่วมในช่วงฤดูนาปีเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
ไม่ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
09 ก.ค. 2546
ประเภทพันธุ์
พันธุ์แนะนำ
ลักษณะเด่น
ผลผลิตสูงในสภาพพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 714 กิโลกรัมต่อไร่ ปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม สูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 1 และสุพรรณบุรี 2 23 และ 29 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ มีอายุสั้นกว่าพันธุ์ชัยนาท 1 ประมาณ 7-10 วัน ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งดีกว่าพันธุ์ข้าวชัยนาทและสุพรรณบุรี 2
ประเภทพืช
ข้าว

ดาวโหลดข้อมูล

<< กลับสู่หน้ารายการ