<< กลับสู่หน้ารายการ
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ
ไหมนางน้อยสกลนคร
- ประวัติ
- ไหมพันธุ์นางน้อยสกลนคร เป็นไหมไทยแท้สายพันธุ์ SP1 ได้รับการปรับปรุงพันธุ์โดยสถานีทดลองหม่อนไหมสกลนคร ปี พ.ศ.2534-2535 ทำการปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีผสมย้อนกลับ โดยมีไหมพันธุ์นางน้อยศรีสะเกษ 1 เป็นตัวรับยีนหรือลักษณะดีที่ไม่มีในพันธุ์นางน้อย และไหมพันธุ์ บร.7 เป็นตัวให้ยีนไหมพันธุ์บร.7 เป็นพันธุ์ไหมไทยที่สามารถคัดแยกเพศได้ในระยะหนอนไหมเมื่อทำการผสมกลับ 6 ครั้ง จึงได้ไหมพันธุ์ไทยแท้ที่มีคุณสมบัติดี สามารถคัดแยกเพศได้ในระยะหนอนไหม เริ่มใช้เป็นแม่พันธุ์ในการผลิตไข่ไหมตั้งแต่ชั่วที่ 9 เดือนพฤษภาคม 2535 และทำการเลี้ยงไหมรักษาพันธุ์ไว้ถึงชั่วที่ 76 เดือนกรกฎาคม 2546 เพื่อประโยชน์ในการบำรุงรักษาพันธุ์ให้ใช้ประโยชน์นานที่สุด
- ลักษณะประจำพันธุ์
- ไข่ไหมสีขาวอมเหลือง เพศเมียมีลำตัวหนอนไหมลาย เพศผู้ลำตัวขาวปลอด ขนาดลำตัว 0.6x6.0 เซนติเมตร รังไหมหัวป้าน ท้ายแหลม ขนาดรังไหม 1.0x2.5 เซนติเมตร รังไหมและเส้นไหมสีเหลืองเข้ม อายุหนอนไหม 20 วัน น้ำหนักหนอนไหมโตเต็มที่ 10 ตัว 29 กรัม มีการฟักไข่ 95 เปอร์เซ็นต์ ดักแด้สมบูรณ์ 97 เปอร์เซ็นต์ ขนาดเส้นใย 2.51 ดีเนียร์
- ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
- ไหมนางน้อยสกลนคร
- พื้นที่แนะนำ
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมขนาดเล็กถึงขนาดกลาง
- ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
- โรงเลี้ยงไหมพร้อมอุปกรณ์ต้องแยกต่างหากจากที่อยู่อาศัย สามารถทำความสะอาดโรงเลี้ยงและอุปกรณ์ได้ดีทั้งก่อนและหลังการเลี้ยงไหม
- หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
- ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตสกลนคร ส่วนแยกหม่อนไหม สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 กรมวิชาการเกษตร
- วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
- 18 ก.พ. 2547
- ประเภทพันธุ์
- พันธุ์แนะนำ
- ลักษณะเด่น
- ให้ผลผลิตต่อแผ่นไข่ไหมสูง 15-20 กิโลกรัม จำนวนไข่ไหมต่อแม่สูง 518 ฟอง น้ำหนักรังสดเฉลี่ย 1 รัง 1.42 กรัม เส้นใยยาว 513 เมตร เป็นพื้นที่ที่สามารถคัดแยกเพศได้ในระยะหนอนไหม ทำให้สะดวกในการผลิตไข่ไหมจำนวนมาก ๆ
- ประเภทพืช
- หม่อนไหม
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ