<< กลับสู่หน้ารายการ
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ
ข้าวเจ้าสังข์หยดพัทลุง
- ประวัติ
- ข้าวพันธุ์สังข์หยด เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ปลูกดั้งเดิมในจังหวัดพัทลุง ในระหว่างปี 2525-2529 ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงได้เก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในภาคใต้ ทั้งหมด 1,997 ตัวอย่างพันธุ์ มีตัวอย่างพันธุ์ข้าวสังข์หยดจาก 3 แหล่ง ได้แก่ สังข์หยด (KGTC82239) จากตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง และ สังข์หยด (KGTC82267) จากตำบลควนขนุน อำเภอเขเสนชัย จังหวัดพัทลุง ซึ่งเมล็ดพันธุ์ที่เก็บรวบรวมส่วนหนึ่งได้ส่งไปเก็บที่ศูนย์ปฏิบัติการและเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติ ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี และส่วนหนึ่งปลูกรักษาพันธุ์โดยศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ในฤดูนาปี 2531/2532 ได้เริ่มคัดเลือกพันธุ์สังข์หยด (KGTC82239) จากแหล่งเก็บ ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง จากแหล่งเดิมที่เก็บรวบรวมของข้าวพันธุ์สังข์หยด มีความแปรปรวนของลักษณะข้าว ในประชากรที่เก็บ ดังนั้น ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง จึงได้พัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าวสังข์หยดที่มีลักษณะพิเศษ โดยทำการคัดเลือกจากพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมให้เป็นพันธุ์บริสุทธิ์ มีความสูงขอลำต้นสม่ำเสมอ เก็บเกี่ยวได้พร้อมกัน มีคุณภาพเมล็ดดี สม่ำเสมอ โดยคัดเลือกแบบหมู่ (mass selection) ในลักษณะดังกล่าวจำนวน 4 ชั่วอายุ จนได้สายพันธุ์สังข์หยด (KGTC82239-2) เมื่อปี 2543 เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์ ซึ่งมีลักษณะดีกว่าสายพันธุ์เดิมในลักษณะความสม่ำเสมอ การสุกแก่ ทำให้การเก็บเกี่ยวได้พร้อมกัน ได้คุณภาพการหุงต้มที่มีคุณค่าทางอาหารสูงตามคุณสมบัติประจำพันธุ์ของข้าว ข้าวสังข์หยดมีคุณสมบัติพิเศษข้าวกล้องมีสีแดง รูปร่างเมล็ดเรียวความยาวเมล็ดข้าวกล้อง 6.70 มิลลิเมตร ข้าวซ้อมมือมีสีแดงปนสีขาว ข้าวจากรวงเดียวกันเมื่อขัดสีแล้วบางเมล็ดมีสีขาวใส แต่ส่วนใหญ่มีลักษณะขาวขุ่น ข้าวหุงสุกนุ่มเป็นข้าวที่มีความคงตัวของแป้งสุกอ่อน(94 มิลลิเมตร) มีปริมาณอมิโลสต่ำ (15?2%) ลักษณะทรงต้นสูง 140 เซนติเมตร ทรงกอตั้ง เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง ออกดอกประมาณวันที่ 10 มกราคม เมื่อปลูกตามฤดูนาปีภาคใต้ (ปักดำกลางเดือนกันยายน) ในปี 2547 จังหวัดพัทลุงได้กำหนดให้ข้าวพันธุ์สังข์หยด เป็นเป้าหมายในการส่งเสริมการผลิตตามยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัด (ปี 2547-2550) ในโครงการการผลิตข้าวคุณภาพดี ปลอดภัยจากสารพิษครบวงจร ที่จะให้เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์สังข์หยดด้วยเมล็ดพันธุ์ดี ที่ปรับปรุงพันธุ์โดยการคัดเลือกจากพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิม โดยศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ต่อมา ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงได้ดำเนินการยื่นขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และกรมวิชาการเกษตร ได้ประกาศออกหนังสือรับรองพันธุ์พืช ขึ้นทะเบียนชื่อพันธุ์ “ข้าวสังข์หยดพัทลุง” เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 และได้ดำเนินการเสนอขอขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าที่บ่งชี้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ โดยใช้ชื่อสินค้าว่า “ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง”
- ลักษณะประจำพันธุ์
- รอพิม0
- ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
- ข้าวเจ้าสังข์หยดพัทลุง
- พื้นที่แนะนำ
- พื้นที่ปลูกข้าวนาปี จังหวัดพัทลุง
- ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
- 1.)ไม่ต้านทานโรคไหม้ 2.)ควรปลุกในพื้นที่ที่กำหนด ไม่ควรปลูกใกล้เคียงกับแปลงปลูกข้าวขาว และควรแยกเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้โดยเฉพาะ
- หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
- ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว
- วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
- 23 เม.ย. 2550
- ประเภทพันธุ์
- พันธุ์แนะนำ
- ลักษณะเด่น
- 1.)เป็นพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง 2.)ข้าวกล้องพันธุ์สังข์หยด มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าพันธุ์เล็บนกปัตตานี มีปริมาณไนอาซิน(Niacin) 6.46 มิลลิกรัม ใยอาหาร 4.81 กรัม และธาตุเหล็ก 0.52 มิลลิกรัม จากตัวอย่างข้าวกล้อง 100 กรัม
- ประเภทพืช
- ข้าว
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ