สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่







<< กลับสู่หน้ารายการ

ขมิ้นชันพันธุ์ กวก. ตรัง 1



ดาวโหลดข้อมูล
ประวัติ
มาจากขมิ้นชันสายต้นT11 โดยปี พ.ศ.2541-2542 ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง นำหัวพันธุ์ขมิ้นชันสายพันธุ์ดีที่ผ่านการคัดเลือกว่าเป็นสายพันธุ์ดี จำนวน 6 สายต้นมาปลูก ปี พ.ศ. 2543-2547 ได้มีการรวบรวมเพิ่มอีก 5 สายต้น ปี พ.ศ.2545 -2547 ศึกษาและเปรียบเทียบการเจริญเติบโต การให้สารสำคัญของขมิ้นชัน ปี พ.ศ.2547-2549 ได้ปลูกทดสอบลงในแปลงเปรียบเทียบกับพันธุ์พื้นเมือง ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง ศูนย์วิจัยพืชสวนเพชรบุรี และศูนย์วิจัยพืชสวนแพร่ โดยมีหลักเกณฑ์การคัดเลือกว่าต้องมีสารสำคัญเคอร์คูมินอยด์สูงกว่า 8 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำมันหอมระเหยสูงกว่า 7 เปอร์เซ็นต์ และให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 2 ตันต่อไร่ ซึ่งขมิ้นชันตรัง 1 ผ่านหลักเกณฑ์การคัดเลือก คือ ให้สารสำคัญเคอร์คูมินอยด์เฉลี่ย 10.62 เปอร์เซ็นต์ น้ำมันหอมระเหยเฉลี่ย 7.99 เปอร์เซ็นต์ เนื้อในเหง้ามีสีเหลืองส้ม สรุปทำการคัดเลือกและประเมินพันธุ์ตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ ตั้งแต่ปี 2541-2550 รวมระยะเวลาการวิจัย 10 ปี
ลักษณะประจำพันธุ์
มีลำต้นอยู่ใต้ดินและมีแขนงออกไปเป็นแง่ง ขนาดหัวแม่ 3.9x5.4 เซนติเมตร น้ำหนัก 29.58 กรัม ขนาดแง่ง 2.06x8.57 เซนติเมตร น้ำหนัก 16.50 กรัม สีเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม ลำต้นสูง 0.55-1.0 เมตร เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 8-11 เดือน ให้น้ำหนักสดเฉลี่ย 2.23 ตันต่อไร่ จัดเป็นพืชที่มีศักยภาพทางการตลาด ทั้งการบริโภคสดโดยเฉพาะในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อใช้เป็นยาสมุนไพร อาหารเสริม เครื่องสำอางและอาหารสัตว์
ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
ขมิ้นชันพันธุ์ กวก. ตรัง 1
พื้นที่แนะนำ
ปลูกได้ทั่วไปในดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำได้ดี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 81 เปอร์เซ็นต์ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,800-2,000 มิลลิเมตรต่อปี
ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
ไม่ควรใช้หัวพันธุ์ที่มาจากแหล่งที่เป็นโรคโคนเน่า
หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 กรมวิชาการเกษตร
วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
27 ส.ค. 2551
ประเภทพันธุ์
พันธุ์แนะนำ
ลักษณะเด่น
มีสารสำคัญเคอร์คูมินอยด์เฉลี่ย 10.62 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่ามาตรฐานยาสมุนไพรไทย (5เปอร์เซ็นต์) 112.4 เปอร์เซ็นต์ และสูงกว่ามาตรฐานการซื้อขาย (8 เปอร์เซ็นต์) 32.75 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำมันหอมระเหยเฉลี่ย 7.99 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่ามาตรฐานยาสมุนไพรไทย (6 เปอร์เซ็นต์) 33.17 เปอร์เซ็นต์ และสูงกว่ามาตรฐานการซื้อขาย (7 เปอร์เซ็นต์) 14.14 เปอร์เซ็นต์ มี ar-turmerone 47.90 เปอร์เซ็นต์ อายุเก็บเกี่ยว 11 เดือน มีเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม โดยใช้แผ่นเทียบสีของ The Royal Horticulture Society (RHS) ให้ผลผลิตหัวสดในภาคใต้ประมาณ 2.23 ตันต่อไร่

ดาวโหลดข้อมูล

<< กลับสู่หน้ารายการ