สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่







<< กลับสู่หน้ารายการ

อ้อยพันธุ์ กวก. อู่ทอง 15



ดาวโหลดข้อมูล
ประวัติ
อ้อยพันธุ์อู่ทอง 15 เป็นลูกผสมตัวเองของพันธุ์อู่ทอง 2 ผสมพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ได้อ้อย 54 ต้น ในปี 2537 ปี 2538 คัดเลือกครั้งที่ 1 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ได้อ้อย 8 โคลน ปี 2539 คัดเลือกครั้งที่ 2 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ได้อ้อย 6 โคลน มีพันธุ์ K84-200 และอู่ทอง 3 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ปี 2540-2541 เปรียบเทียบเบื้องต้น มีอ้อยทดลอง 45 โคลน มีพันธุ์ K84-200 และอู่ทอง 3 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี อ้อยพันธุ์อู่ทอง 15 ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 15.36 ตัน/ไร่ ความหวานเฉลี่ย 13.41 ซีซีเอส ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.06 ตันซีซีเอส/ไร่ ขณะที่พันธุ์ K84-200 ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 9.15 ตัน/ไร่ ความหวานเฉลี่ย 13.78 ซีซีเอส และผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 1.26 ตันซีซีเอส/ไร่ สำหรับพันธุ์อู่ทอง 3 ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 15.42 ตัน/ไร่ ความหวานเฉลี่ย 14.31 ซีซีเอส และผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.21 ตันซีซีเอส/ไร่ ปี 2543-2545 เปรียบเทียบมาตรฐาน มีอ้อยทดลอง 16 โคลน มีพันธุ์ K84-200 และอู่ทอง 3 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรีและสถานีทดลองพืชไร่ปราจีนบุรี อ้อยพันธุ์อู่ทอง 15 ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 15.10 ตัน/ไร่ ความหวานเฉลี่ย 13.29 ซีซีเอส ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.01 ตันซีซีเอส/ไร่ ขณะที่พันธุ์ K84-200 ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 11.77 ตัน/ไร่ ความหวานเฉลี่ย 14.00 ซีซีเอส ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 1.64 ตันซีซีเอส/ไร่ สำหรับพันธุ์อู่ทอง 3 ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 17.73 ตัน/ไร่ ความหวานเฉลี่ย 14.04 ซีซีเอส และผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.49 ตันซีซีเอส/ไร่ ปี 2544-2546 และ 2551-2552 ทดสอบในไร่เกษตรกร มีอ้อยทดลอง 8 และ 12 โคลน มีพันธุ์ K84-200 และอู่ทอง 3 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบในไร่เกษตรกร อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี อ้อยพันธุ์อู่ทอง 15 ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 16.97 ตัน/ไร่ ความหวานเฉลี่ย 14.61 ซีซีเอส ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.47 ตันซีซีเอส/ไร่ ขณะที่พันธุ์ K84-200 ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 15.08 ตัน/ไร่ ความหวานเฉลี่ย 14.84 ซีซีเอส ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.22 ตันซีซีเอส/ไร่ สำหรับพันธุ์อู่ทอง 3 ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 15.55 ตัน/ไร่ ความหวานเฉลี่ย 15.07 ซีซีเอส และผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.36 ตันซีซีเอส/ไร่ ปี 2553-2556 ประเมินสายพันธุ์อ้อยดีเด่นที่มีศักยภาพในแหล่งปลูกอ้อยทั่วประเทศ (การเปรียบเทียบพันธุ์อ้อยในไร่เกษตรกร) ทำการทดลองในฤดูปลายฝนเขตน้ำฝน ทำการทดลองที่ไร่เกษตรกร อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ , อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น , อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี , อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา อ้อยพันธุ์อู่ทอง 15 ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 17.91 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 (14.53 ตัน/ไร่) ร้อยละ 23 และให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.37 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 (2.12 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 10 ปี 2554-2557 ประเมินสายพันธุ์อ้อยดีเด่นที่มีศักยภาพในแหล่งปลูกอ้อยทั่วประเทศ (การเปรียบเทียบพันธุ์อ้อยในไร่เกษตรกร) ทำการทดลองในฤดูต้นฝนเขตน้ำฝน ทำการทดลองที่ไร่เกษตรกร อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี , อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี อ้อยพันธุ์อู่ทอง 15 ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 12.42 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 (11.03 ตัน/ไร่) ร้อยละ 13 และให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 1.79 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 (1.56 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 15
ลักษณะประจำพันธุ์
ลักษณะทรงกอตั้งตรง ลักษณะการติดของกาบใบกับลำต้นแน่น(เหนียว) จำนวนหน่อต่อกอ(หลังงอก อายุ 4 เดือน) 6-12 หน่อ ความยาวของปล้องปานกลาง 10-20 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางปล้องปานกลาง 2.5-3.0 เซนติเมตร ลักษณะปล้องทรงกระบอก ลักษณะปล้องตัดขวางกลม การเรียงตัวของปล้องซิกแซกเล็กน้อย มีไขที่ปล้องมาก สีปล้องเมื่อต้องแสงเขียวเหลือบเหลือง สีปล้องเมื่อไม่ต้องแสงเหลืองเหลือบเขียว มีร่องเหนือตาลึก ไม่มีรอยแตกของปล้อง มีวงไข ความนูนของตานูนปานกลาง ลักษณะของตารูปรี ลักษณะของทรงใบชัน – ตรง ใบกว้าง ( > 6 เซนติเมตร) ขนขอบใบมีน้อย ลักษณะของลิ้นใบแถบตรงกลางพองออก ปลายเรียวแหลมทั้ง 2 ข้าง ลักษณะหูใบขอบด้านนอกบุบ ลักษณะหูใบขอบด้านในใบหอกสั้น ลักษณะของคอใบสามเหลี่ยมฐานเรียบ ขอบบนเรียบ ไม่มีขนที่กาบใบ ความสูงเฉลี่ย 253 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำเฉลี่ย 2.74 เซนติเมตร จำนวนลำต่อกอเฉลี่ย 5.58 จำนวนปล้องต่อลำเฉลี่ย 22 อายุเก็บเกี่ยว 11-12 เดือน
ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
อ้อยพันธุ์ กวก. อู่ทอง 15
พื้นที่แนะนำ
ควรปลูกอ้อยพันธุ์อู่ทอง 15 ในดินร่วนปนทราย จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ในฤดูปลายฝนเขตน้ำฝน จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชลบุรี ในฤดูต้นฝนเขตน้ำฝน จังหวัดลพบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่มีน้ำขัง และมีโรคเหี่ยวเน่าแดงระบาด
หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
ศูนย์วิจัยพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี
วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
29 ก.ค. 2558
ประเภทพันธุ์
พันธุ์แนะนำ
ลักษณะเด่น
1. ในดินร่วนปนทราย ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 16.97 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ K84-200 (15.08 ตัน/ไร่) ร้อยละ 13 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (15.55 ตัน/ไร่) ร้อยละ 9 และผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.47 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ K84-200 (2.22 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 11 และสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (2.36 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 5 2. ในฤดูปลายฝนเขตน้ำฝน ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 17.91 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 (14.53 ตัน/ไร่) ร้อยละ 23 และให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.37 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 (2.12 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 12 3. ในฤดูต้นฝนเขตน้ำฝน ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 12.42 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 (11.03 ตัน/ไร่) ร้อยละ 13 และให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 1.79 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 (1.56 ตันซีซีเอส/ไร่) ร้อยละ 15

ดาวโหลดข้อมูล

<< กลับสู่หน้ารายการ