<< กลับสู่หน้ารายการ
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ
ข้าวเจ้าดอกพะยอม
- ประวัติ
- ข้าวเจ้าดอกพะยอมเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่ใช้ปลูกเป็นข้าวไร่ในภาคใต้ ทำการรวบรวมพันธุ์โดยเจ้าหน้าที่กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางในระหว่างปี พ.ศ.2502-2521 และนำมาปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ในสถานีทดลองข้าวภาคใต้ สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี
- ลักษณะประจำพันธุ์
- ข้าวไวต่อช่วงแสงอย่างอ่อน อายุประมาณ 145 -150 วัน ปลูกต้นเดือนมิถุนายน เก็บเกี่ยวปลายเดือนตุลาคมปลูกปลายเดือนสิงหาคม เก็บเกี่ยวปลายเดือนมกราคม ลำต้นสีเขียวเจริญเติบโตเต็มที่สูงประมาณ 150 เซนติเมตร ใบยาว ค่อนข้างแคบ ชูรวงดี ผลผลิตเก็บเกี่ยวจากแปลงทดลองเฉลี่ยประมาณ 250 กิโลกรัมต่อไร่ ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 2 สัปดาห์ ข้าวเปลือกสีฟาง ก้นจุด น้ำหนัก 100 เมล็ด 2.58 กรัม ข้าวกล้องยาว 7.3 มิลลิเมตร รูปร่างยาวเรียว ลักษณะข้าวสุกนุ่ม และมีกลิ่นหอม
- ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
- ข้าวเจ้าดอกพะยอม
- พื้นที่แนะนำ
- ภาคใต้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา และจังหวัดภูเก็ต โดยปลูกแบบข้าวไร่
- ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
- ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และโรคใบวงสีน้ำตาล ออกดอกเร็วไม่ค่อยเหมาะกับบางท้องที่และถ้าปลูกในสภาพน้ำขังไม่ค่อยแตกกอ
- หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
- สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
- วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
- 07 ธ.ค. 2522
- ประเภทพันธุ์
- พันธุ์รับรอง
- ลักษณะเด่น
- ชูรวง คอยาว เหมาะสำหรับเกี่ยวด้วยแกระ ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี ปลูกเป็นพืชแซมยางได้ คุณภาพหุงต้มและรสชาติดี ต้านทานโรคไหม้โรคใบจุดสีน้ำตาลและโรคใบขีดสีน้ำตาล
- ประเภทพืช
- ข้าว
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ