สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่







<< กลับสู่หน้ารายการ

ส้มสายน้ำผึ้งพันธุ์ กวก. แพร่ 1



ดาวโหลดข้อมูล
ประวัติ
ส้มสายน้ำผึ้งพันธุ์แพร่ 1 หรือส้มสายน้ำผึ้งสายต้น A4V3-22-2 ในปี พ.ศ. 2543-2548 กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง 10 ประเทศ โดยทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency, IAEA) ทั้งนี้ประเทศไทยได้ดำเนินการวิจัยกับส้มเขียวหวานและส้มโอ ส่วนหนึ่งได้วิจัยการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ในส้มเปลือกล่อน (C. reticulata) พันธุ์สายน้ำผึ้ง เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ที่ไม่มีเมล็ด หรือมีเมล็ดน้อย โดยการฉายรังสีแกมมาแบบเฉียบพลัน (Acute) ด้วยปริมาณรังสีอัตราต่างๆ 0, 4, 6,8 Krad กับกิ่งพันธุ์ นำกิ่งพันธุ์ส้มสายน้ำผึ้งที่ฉายรังสีแบบ Acute นั้นไปติดตากับต้นตอและปลูกลงแปลงทดลองและใช้วิธีการตัดแต่งกิ่งแบบ cutting back จากรุ่น M1V0 จนถึงรุ่น M1V4 เมื่อเริ่มให้ผลผลิตจึงได้ทำการตรวจสอบคุณภาพของผล ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2548 พบว่าต้นที่ได้รับการฉายรังสีแบบ Acute ในรุ่น M1V3 พบต้นที่มีเมล็ดน้อยกว่า 5 เมล็ดจำนวน 6 ต้น ด้วยปริมาณรังสี 4 Krad และ 8 Krad สำหรับในรุ่น M1V4 พบต้นที่มีเมล็ดน้อยกว่า 10 เมล็ด จำนวน 5 ต้น ด้วยปริมาณรังสี 4 Krad และได้คัดเลือกถึงปีพ.ศ. 2553 คัดเลือกได้ 14 สายต้น ต่อมาปี พ.ศ.2553-2558 ได้ปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์การค้า ในเบื้องต้นคัดต้นดีเด่นได้ 5 สายต้น โดยได้นำเสนอสายต้นที่ดีที่สุดขณะนี้ 1 สายต้น เป็นพันธุ์แนะของกรมวิชาการเกษตรนำสู่เกษตรกร คือ ส้มสายน้ำผึ้งพันธุ์แพร่ 1
ลักษณะประจำพันธุ์
เป็นไม้ผลขนาดเล็กความสูงประมาณ 2.40 เมตร ทรงพุ่มมีความกว้างประมาณ 1.60 เมตร ขนาดของทรงพุ่มประมาณ 4-6 เมตรใบมีรูปร่างแบบ lanceolate ค่อนข้างเรียวแหลม ขนาดของ wing มีบ้างเล็กน้อย ใบมีสีเขียวเข้ม ใบอ่อนสีเขียวอมเหลือง ผิวใบด้านบนเป็นมัน ด้านใต้ใบเป็นสีตองอ่อน ขอบใบเรียบบนแผ่นใบ wing และก้านใบมีต่อมน้ำมันลักษณะดอกเป็นแบบ regular flower เป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ ผลจัดเป็นพวก hesperidium สามารถปอกเปลือกได้ง่าย ผลมีลักษณะค่อนข้างกลมแป้นเล็กน้อยบริเวณขั้วผลราบถึง เว้าเล็กน้อย ผิวผลเมื่อสุกมีสีเขียวอมเหลืองถึงเหลืองเข้ม ถ้าปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นผิวผลจะมีสีเหลืองอมส้ม เนื้อมีสีเหลืองส้ม เมล็ดลีบหรือเมล็ดน้อยประมาณ 0-2 เมล็ด
ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
ส้มสายน้ำผึ้งพันธุ์ กวก. แพร่ 1
พื้นที่แนะนำ
ส้มสายน้ำผึ้งพันธุ์แพร่ 1 สามารถปลูกได้ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของไทย เช่น จังหวัดเชียงใหม่ แพร่และจังหวัดอื่นๆ ที่มีสภาพภูมิอากาศใกล้เคียงกัน
ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
- โรคกรีนนิ่ง (greening) - โรครากเน่าโคนเน่าจากเชื้อ PhytophthoraparasiticaDastur - พื้นที่ปลูกต้องไม่มีน้ำท่วมขังหรือควรยกร่องแปลงปลูกส้มเพื่อป้องกันการเกิดโรครากเน่าโคนเน่า
หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
สถาบันวิจัยพืชสวน
วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
26 ธ.ค. 2559
ประเภทพันธุ์
พันธุ์แนะนำ
ลักษณะเด่น
จำนวนเมล็ดน้อยประมาณ 0-2 เมล็ดต่อผล คุณภาพผลดีเทียบเท่าส้มพันธุ์สายน้ำผึ้งที่ไม่ฉายรังสี
ประเภทพืช
พืชสวน

ดาวโหลดข้อมูล

<< กลับสู่หน้ารายการ