<< กลับสู่หน้ารายการ
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ
ข้าวเจ้ากู้เมืองหลวง
- ประวัติ
- ข้าวเจ้าพันธุ์กู้เมืองหลวง เป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ใช้ปลูกเป็นข้าวไร่ในบางท้องที่ของภาคใต้มาเป็นเวลานานปี พ.ศ.2521 -2522 ปลูกศึกษาพันธุ์ที่สถานีทดลองยางในช่อง และสถานีทดลองยางถลาง และปลูกรักษาพันธุ์ไว้ที่สถานีทดลองข้าวควนกุฏเป็นพันธุ์ที่ทนแล้งและปรับตัวเข้ากับสภาพไร่ได้ดีเหมาะสำหรับใช้ปลูกเป็นข้าวไร่และปลูกเป็นพืชแซมยางสามารถต้านทานโรค และแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ
- ลักษณะประจำพันธุ์
- ข้าวไวต่อช่วงแสง ปลูกต้นเดือนมิถุนายน เก็บเกี่ยวกลางเดือนพฤศจิกายนปลูกปลายเดือนสิงหาคม เก็บเกี่ยวกลางเดือนมกราคม อายุประมาณ 135-165 ลักษณะลำต้นสูงประมาณ 155 เซนติเมตร แตกกอดีในสภาพดินอุดมสมบูรณ์ต้นจะสูงมากและล้มง่าย ต้นสีเขียวเข้ม ใบกว้างและโน้ม ผลผลิตเก็บเกี่ยวจากแปลงทดลองเฉลี่ยประมาณ 240 กิโลกรัมต่อไร ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 7 สัปดาห์ ข้าวเปลือกสีฟาง กระสีน้ำตาลน้ำหนัก 100 เมล็ด 2.60 กรัม เมล็ดข้าวกล้องยาว 8.41 มิลลิเมตร รูปทรงยาวเรียว ลักษณะข้าวสุกร่วนแข็ง
- ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
- ข้าวเจ้ากู้เมืองหลวง
- พื้นที่แนะนำ
- แนะนำให้ปลูกเป็นข้าวไร่แล้วเป็นพืชแซมยางภาคใต้
- ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
- เป็นพันธุ์ที่ออกดอกเร็วไม่เหมาะกับบางท้องถิ่นไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และโรคใบวงสีน้ำตาล
- หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
- สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
- วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
- 07 ธ.ค. 2522
- ประเภทพันธุ์
- พันธุ์รับรอง
- ลักษณะเด่น
- ทนแล้งได้ดี เหมาะสำหรับปลูกเป็นข้าวไร่ในภาคใต้ และปลูกเป็นพืชแซมยาง การชูรวงดี คอรวงยาวเหมาะสำหรับเกี่ยวด้วยแกระ ต้านทานโรคไหม้โรคใบจุดสีน้ำตาลโรคใบขีดสีน้ำตาล และต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียว ปานกลาง
- ประเภทพืช
- ข้าว
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ