สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่







<< กลับสู่หน้ารายการ

ฝ้ายพันธุ์ กวก. ตากฟ้า 6



ดาวโหลดข้อมูล
ประวัติ
ฝ้ายสายพันธุ์ TF2 6/ BC-B-115-B-5G-B-B เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ฝ้ายระหว่างพันธุ์ฝ้าย ตากฟ้า 2 กับพันธุ์ฝ้ายเส้นใยสีน้ำตาล (Brown cotton) ในปี 2543 และทำการผสมกลับ 5 ครั้ง ระหว่างปี 2544-2546 โดยในการผสมกลับแต่ละครั้งทำการเก็บรวมเฉพาะต้นที่มีลักษณะคล้ายพันธุ์ตากฟ้า 2 แต่ให้เส้นใยสีน้ำตาลอ่อน จากนั้นทำการปลูก BC5F1 ในปี 2547 แล้วทำการเก็บรวมเฉพาะต้นที่มีลักษณะคล้ายพันธุ์ตากฟ้า 2 แต่ให้เส้นใยสีน้ำตาลอ่อน แล้วนำไปปลูกเป็น BC5F2 ในปี 2548 ภายใต้สภาพการปลูกเชื้อโรคใบหงิกสามารถคัดเลือกและเก็บเมล็ดรายต้นเฉพาะต้นที่มีลักษณะคล้ายพันธุ์ตากฟ้า 2 แต่ให้เส้นใยสีน้ำตาลอ่อน จำนวน 35 ต้น แล้วจึงนำมาปลูกคัดเลือกแบบต้นต่อแถวในชั่วที่ BC5F3 เมื่อปี 2549 ซึ่งสามารถเก็บรวมเมล็ดจากต้นที่ให้ผลผลิตสูง เส้นใยสีน้ำตาลอ่อน ภายในแถวที่มีความสม่ำเสมอ เพื่อนำมาปลูกคัดเลือกรวม 16 แถว ในปี 2550 เป็นชั่วที่ BC5F4 แล้วคัดเลือกไว้เฉพาะต้นที่มีเส้นใยสีน้ำตาล จากแถวที่มีจำนวนต้นที่ให้เส้นใยสีน้ำตาลมากที่สุด รวม 2 แถว เพื่อนำสมอจากต้นที่ผ่านการคัดเลือกรวม 13 สมอ ไปทำการปลูกคัดเลือกในชั่วที่ BC5F6 แบบสมอต่อแถวรวม 13 แถวในปี 2551 และสามารถรวบรวมเมล็ดจากสมอจากดอกที่มีการผสมตัวเองในแถวที่มีเส้นใยสีน้ำตาลทั้ง 13 แถว สำหรับนำไปปลูกคัดเลือกในปี 2552 ซึ่งสามารถคัดเลือกได้สายพันธุ์หรือแถวที่มีความสม่ำเสมอและมีเส้นใยสีน้ำตาล 11 สายพันธุ์แล้วจึงทำการประเมินผลผลิตตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์พืชของกรมวิชาการเกษตร และประเมินลักษณะต่าง ๆ ระหว่างปี 2553-2557 ซึ่งพบว่า ฝ้ายสายพันธุ์ TF2 6/ BC-B-115-B-5G-B-B ให้ผลผลิตใกล้เคียงกับพันธุ์ตากฟ้า 2 แต่มีลักษณะที่เด่นกว่า คือมีเส้นใยเป็นสีน้ำตาล โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการฟอกย้อม ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคที่หันมานิยมใช้เส้นใยฝ้ายสีตามธรรมชาติและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ลักษณะประจำพันธุ์
ทรงต้นกลม (globose) ขนน้อย (weak) กลีบดอกมีสีครีม (cream) อับละอองเรณู มีสีครีม (cream) มีสีที่โคนกลีบดอกด้านใน ขนาดริ้วประดับดอกปานกลาง ต่อมสีที่ริ้วประดับน้อย รูปร่างใบเป็นรูปนิ้วมือลึกปานกลาง (palmate to digitate) ใบไม่มีขนที่หลังใบ ลักษณะสมอเป็นรูปไข่ (ovate) ต่อมสีที่สมอน้อย ปุยหรือเส้นใยฝ้ายมีสีน้ำตาล (greyed orange)
ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
ฝ้ายพันธุ์ กวก. ตากฟ้า 6
พื้นที่แนะนำ
ปลูกได้ในแหล่งผลิตฝ้ายของประเทศไทยทั่วไป
ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
ควรระวังโรคใบหงิก โดยควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะของโรคใบหงิกก่อนปลูก
หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ สถาบันวิจัพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
19 มี.ค. 2561
ประเภทพันธุ์
พันธุ์รับรอง
ลักษณะเด่น
1. เส้นใยเป็นสีน้ำตาลตามธรรมชาติ (GREYED ORANGE: 164B) 1/ 2. มีความละเอียดอ่อนของเส้นใยมากกว่าพันธุ์ตากฟ้า 2 3. ให้ผลผลิตสูงใกล้เคียงกับพันธุ์ตากฟ้า 2

ดาวโหลดข้อมูล

<< กลับสู่หน้ารายการ