สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่







<< กลับสู่หน้ารายการ

ถั่วเขียวพันธุ์ กวก. ชัยนาท 3



ดาวโหลดข้อมูล
ประวัติ
ถั่วเขียวสายพันธุ์ CNMB06-01-40-4 เป็นสายพันธุ์ที่ได้จากการฉายรังสี โดยนำถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 36 มาฉายรังสีแกมมาในปริมาณ 400 เกรย์ ในปี 2548 ทำปลูกการคัดเลือกชั่วที่ 1-4 (M1-M4) ปี 2548-2550 คัดเลือกในชั่วที่ 2 และ 3 (M2 และ M3) ได้ 188 และ 247 ต้น ตามลำดับ ชั่วที่ 4 (M4) ปลูกแบบต้นต่อแถว สร้างเป็นสายพันธุ์กลายได้ทั้งหมด 121 สายพันธุ์ คัดต้นที่มีลักษณะทางการเกษตรดี เก็บเกี่ยวต้นแบบแยกต้น ได้ 32 สายพันธุ์ เพื่อนำเข้าประเมินพันธุ์ ตามขั้นตอนดังนี้ การเปรียบเทียบเบื้องต้น การเปรียบเทียบมาตรฐาน การเปรียบเทียบในท้องถิ่น และการเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร โดยใช้พันธุ์มาตรฐานชัยนาท 36 และพันธุ์ชัยนาท 72 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ศึกษาข้อมูลจำเพาะของพันธุ์ และคุณค่าทางโภชนาการ รวมทั้งประเมินการยอมรับของเกษตรกร ระหว่างปี 2548 – 2561
ลักษณะประจำพันธุ์
การเจริญเติบโตแบบต้นตั้งตรง โคนต้นอ่อนใต้ใบเลี้ยงมีสีเขียว ใบย่อยใบกลางเป็นรูปคล้ายสามเหลี่ยม มีความยาว 9.7 ซม.และกว้าง 7.5 ซม. ก้านใบมีสีเขียว ยาว 9.5 ซม. ใบมีสีเขียวอ่อน มีขนน้อย วงกลีบเลี้ยงมีสีเขียว กลีบดอกมีสีเหลืองอ่อน ก้านชูช่อดอกมีความยาว 6.8 ซม. ฝักอ่อนมีสีเขียวอ่อน ฝักแก่มีสีดำ ฝักแก่มีลักษณะกลม ความหนาแน่นของขนที่ฝักแก่น้อย การแตกของฝักเมื่อแก่ไม่แตก ขั้วเมล็ดมีลักษณะไม่เว้าและตำแหน่งของขั้วเมล็ดอยู่กึ่งกลาง เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก และมีสีเขียว อายุถึงดอกแรกบาน 35 วัน อายุถึงเก็บเกี่ยว 65 วัน มีจำนวนฝักต่อต้น 14.3 ฝัก จำนวนเมล็ดต่อฝัก 11.1 เมล็ด ฝักมีความยาว 9.1 ซม. ต้นมีความสูง 63 ซม. เมล็ดมีน้ำหนัก 1,000 เมล็ด 72.2 กรัมผลผลิตเฉลี่ยจากทุกแปลง232 กก./ไร่ เมล็ดมีคุณสมบัติทางเคมีประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 58.37% โปรตีน 24.05% ไขมัน 1.03% เส้นใย 4.50% เถ้า 4.12%
ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
ถั่วเขียวพันธุ์ กวก. ชัยนาท 3
พื้นที่แนะนำ
เหมาะสำหรับปลูกในสภาพการผลิตพืชไร่ทั่วไป สามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนบน
ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
-
หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร
วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
01 มี.ค. 2562
ประเภทพันธุ์
พันธุ์รับรอง
ลักษณะเด่น
1. ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 232 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 36 และชัยนาท 72 ร้อยละ 13 และ 6 ตามลำดับ 2. ขนาดเมล็ดใหญ่ โดยให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด เฉลี่ย 72.2 กรัม 3. เหมาะสำหรับการเพาะถั่วงอก โดยให้น้ำหนักสดถั่วงอกสูง และอัตราการเพาะถั่วงอก 1 : 5.7 คุณภาพของถั่วงอก รสชาติหวาน กรอบ และไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว 4. เหมาะสำหรับการแปรรูปเป็นวุ้นเส้น ลักษณะวุ้นเส้นมีสีขาวใส และเหนียวนุ่ม 5. การสุกแก่ของฝักสม่ำเสมอใกล้เคียงกัน

ดาวโหลดข้อมูล

<< กลับสู่หน้ารายการ