<< กลับสู่หน้ารายการ
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ
มันเทศพันธุ์ กวก. สุโขทัย 2
- ประวัติ
- สถาบันวิจัยพืชสวนโดยศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ได้ทำการปรับปรุงพันธุ์มันเทศใหม่โดยนำพันธุ์มันเทศที่มีลักษณะดีต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศมาผสมข้ามพันธุ์ นำเมล็ดลูกผสมมาเพาะเป็นต้นและทำการขยายจำนวน นำยอดไปปลูกและคัดเลือกสายพันธุ์ตามเกณฑ์ที่กำหนด ได้แก่ เจริญเติบโตเร็ว คลุมวัชพืชได้ดี ผลผลิตเฉลี่ย 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ขึ้นไป อายุการเก็บเกี่ยวสั้นเพื่อลดการทำลายของด้วงงวงมันเทศ คุณภาพในการบริโภคดี ผู้บริโภคยอมรับสูง คัดเลือกสายพันธุ์ไว้ 28 สายพันธุ์ ทำการเปรียบเทียบสายพันธุ์ 2 ปี ในปี 2554–2555 คัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีเด่นไว้ 6 สายพันธุ์ ในปี 2557 นำไปปลูกทดสอบ 3 สถานที่ คือ ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ ที่มีสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน พบว่า สายพันธุ์ สท.10 มีผลผลิตเฉลี่ยสูงสุดทั้ง 3 สถานที่ 4,564 กิโลกรัมต่อไร่ รองมาเป็นสายพันธุ์ สท.03 และ สท.25 เท่ากับ 3,884 และ 3,089 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ พันธุ์ท้องถิ่นมีผลผลิตเฉลี่ย 2,164 กิโลกรัมต่อไร่ และนำผลผลิตไปวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ คัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีเด่นไว้ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ สท.03 สท.10 และสท.18 และปี 2558 นำทั้งสามสายพันธุ์ไปทดสอบในไร่เกษตรกรที่จังหวัดสุโขทัย พิจิตร และเพชรบูรณ์ จังหวัดละ 2 แห่ง โดยทดสอบกับพันธุ์ท้องถิ่นของเกษตรกร ในด้านผลผลิตพบว่า สายพันธุ์ สท.18 มีผลผลิตเฉลี่ยสูงสุดทั้ง 6 แปลง 1,727 กิโลกรัมต่อไร่ รองมาเป็นสายพันธุ์ สท.03 และ สท.10 เท่ากับ 1,619 และ 1,515 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ ประเมินคุณภาพในการบริโภค การยอมรับของผู้บริโภคและเกษตรกรพบว่า คัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีที่สุดได้ 2 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์ สท.03 เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์ พจ.226-31 (เนื้อสีเหลือง) กับพันธุ์T101 (เนื้อสีส้ม) และ สท.18 เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์ พจ.189-257 (เนื้อสีม่วง) กับพันธุ์ FM37-LINIDOK-3 (เนื้อสีเหลือง)
- ลักษณะประจำพันธุ์
- เถา มีลักษณะยาว 253 ซม. มีเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้น 0.98 ซม. ปล้องมีความยาว 10.3 ซม. สีของเถาที่เด่นชัดขึ้นก่อนเป็นสีม่วงและสีที่ปรากฏภายหลังเป็นสีเขียว ปริมาณขนอ่อนที่ยอดมีจำนวนมาก ใบมีรูปทรงแบบรูปหัวใจ (Cordate) มีขนาด กว้าง 15.2 ซม.ยาว 15.3 ซม. เส้นใบมีสีม่วง สีของใบ ใบแก่มีเขียวและมีสีม่วง ที่ขอบใบ ( YG 137 A ) และใบอ่อนมีสีม่วง (B 200 A) ก้านใบยาว 22.3 ซม. สีของก้านใบเขียวและมีสีม่วงใกล้ใบ หัวมีรูปรี (Elliptic) มีขนาดกว้าง 6.9 ซม. ยาว 18 ซม. มีสีแดง (GR - PP 183 B) และสีของเนื้อเมื่อสุกเหลืองอมส้ม (YO 16 C) ดอกมีนิสัยการออกดอกมีการออกดอกระดับน้อย สีของดอกขอบดอกสีม่วงอ่อนกลางดอกสีม่วงเข้ม ดอกมีขนาดของ กว้าง 3.3 ซม.x ยาว 4.6 ซม. ดอกมีรูปร่างแบบรูปแตร และกลีบเลี้ยงมีรูปร่างแบบรูปไข่กลับ มีสีเขียวปนม่วง เมล็ดมีจำนวนเมล็ดต่อดอก 1-3 เมล็ด มีสีน้ำตาล ผลผลิตจากการทดสอบสายพันธุ์ 3 สถานที่ 2,900 กก. / ไร่ คุณภาพจากการประเมินของผู้ทดสอบ จำนวน 30 คนเท่ากับ 8 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน มีอายุเก็บเกี่ยว 110 - 120 วัน มีคุณสมบัติทางเคมีประกอบด้วย 1. แอนโทไซยานิน (anthocyanin) 1.26 mg/kg 2. ปริมาณเถ้า (Ash) 0.75 g/100g 3. เบต้า-แคโรทีน (beta-carotene) 481 ?g/100g 4. แคลอรี (calories) 130 Kcal /100g 5. แคลอรีจากไขมัน (calories from fat) 1.35 Kcal/100g 6. คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) 31.1 g/100g 7. ไขมัน (fat) 0.15 g/100g 8. ความชื้น (moisture) 66.82 g/100g 9. โปรตีน (protein ; % N x 6.25 ) 1.20 g/100g 10. น้ำตาล (sugar) 8.65 g/100g 11. เส้นใยอาหาร (dietary fiber) 2.65 g/100g 12. แคลเซียม (calcium; Ca) 19.18 mg/100g 13. เหล็ก (iron; Fe) 0.51 mg/100g 14. โซเดียม (sodium; Na) 6.99 mg/100g
- ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
- มันเทศพันธุ์ กวก. สุโขทัย 2
- พื้นที่แนะนำ
- มันเทศสายพันธุ์ที่คัดเลือกได้ สามารถปลูกได้ดีในดินร่วนทราย ทั้งในสภาพบนที่ราบสูงและที่ราบ โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือตอนล่างและภาคอื่นๆ ที่มีสภาพภูมิอากาศใกล้เคียงกัน
- ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
- 1. หลีกเลี่ยงการปลูกมันเทศในแหล่งที่มีการระบาดของด้วงงวงมันเทศ และการปลูกซ้ำที่เดิม 2. การปลูกมันเทศในช่วงฤดูแล้งไม่ควรให้ดินในแปลงปลูกมีลักษณะแตกระแหง มีช่องว่างของดินเพราะทำให้แมลงศัตรูมันเทศเข้าทำลาย ดังนั้นควรให้น้ำมันเทศในฤดูแล้ง และยังสามารถเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นได้อีกด้วย
- หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
- ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร
- วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
- 01 มี.ค. 2562
- ประเภทพันธุ์
- พันธุ์แนะนำ
- ลักษณะเด่น
- 1. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,900 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าพันธุ์ท้องถิ่น ร้อยละ 34 (จากการทดสอบพันธุ์ 3 สถานที่ ปี 2557) 2. สีเนื้อเมื่อสุกมีสีเหลืองอมส้ม เหนียวนุ่ม ละเอียด รสชาติหวาน ผู้บริโภคและเกษตรกรยอมรับสูงถึง 8 คะแนนจาก 10 คะแนน 3. มีคุณค่าทางโภชนาการ ให้พลังงานสูง โดยมีปริมาณคาร์โบไฮเดรต 31 กรัม แคลอรี 131 กิโลแคลอรีต่อมันเทศ 100 กรัม และสารเบต้า-แคโรทีน 481 ไมโครกรัมต่อมันเทศ 100 กรัม สูงกว่าพันธุ์ท้องถิ่น ที่มีสารเบต้า-แคโรทีน น้อยกว่า 10 ไมโครกรัมต่อมันเทศ 100 กรัม
- ประเภทพืช
- พืชสวน
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ