<< กลับสู่หน้ารายการ
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ
พริกใหญ่พันธุ์ กวก. พิจิตร 2
- ประวัติ
- พริกใหญ่สายพันธุ์ พจ. 27-1-2-1 เป็นพริกใหญ่เพื่อการแปรรูปเป็นซอสพริก ที่ได้มาจากการปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีการผสมข้ามพันธุ์ ระหว่างพันธุ์ พจ.06 กับพริกต่างประเทศ รหัส 409 ในปี 2540 เป็นคู่ผสมลำดับที่ 27 จากคู่ผสมทั้งหมด 40 คู่ผสม คัดเลือกพันธุ์แบบ pedigree method ใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกคือ 1) ให้ผลผลิตมากกว่า 3,200 กิโลกรัมต่อไร่ 2) ผลมีรูปร่างเรียวยาว เนื้อหนากว่า 2.0 มิลลิเมตร โดยปลูกคัดเลือกในปี 2541-2542 ปีละ 2 ครั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน รวมทั้งสิ้น 4 ชั่ว เปรียบเทียบพันธุ์ในปี 2543 กับพริกบางช้างที่เป็นพริกพื้นเมือง และพริกพันธุ์การค้าของบริษัทศรแดง และเจียไต๋ ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง ทดสอบพันธุ์ในแหล่งปลูกที่ศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร ศูนย์วิจัยพืชสวนหนองคาย และสถานีทดลองพืชสวนน่าน ในปี 2544 - 2545 จากนั้นทดสอบพันธุ์ในแปลงเกษตรกร ในปี 2546 ที่ จ. นครสวรรค์ จ. แพร่ และ จ. เลย โดยเปรียบเทียบกับพันธุ์พื้นเมืองที่เกษตรกรใช้อยู่ ปี 2557 – 2558 ทดสอบพันธุ์ในแปลงเกษตรกร ที่ จ. พิจิตร จ.สุโขทัย และ จ.แพร่ โดยเปรียบเทียบกับพันธุ์พื้นเมืองหรือพันธุ์การค้าที่เกษตรกรปลูก ปี 2559 ทดสอบพันธุ์ในแปลงเกษตรกร ที่ จ.นครสวรรค์ จ.สุโขทัย และ จ.หนองคาย และในปี 2560 ทดสอบพันธุ์ในแปลงเกษตรกร จ.สุโขทัย และ จ.อุทัยธานี ใช้พริกพันธุ์การค้าซึ่งเป็นพริกลูกผสมเป็นพันธุ์เปรียบเทียบ
- ลักษณะประจำพันธุ์
- วงจรชีวิตเป็นแบบฤดูเดียว ต้นอ่อนมีสีเขียว ใบมีลักษณะรูปร่างเป็นแบบรูปหอก ดอกต่อข้อมีจำนวนเป็นหนึ่งดอกต่อข้อ กลีบดอกมีสีขาว เกสรตัวผู้มีสีน้ำเงิน ไม่มีเกสรตัวผู้เป็นหมัน สีของผลเมื่อผลแก่มีสีเขียวและผลสุกมีสีแดง ผลมีรูปร่างแบบเรียวยาว มีขนาดยาว 11.68 ซม. กว้าง 1.95 ซม. ผิวมีลักษณะเป็นผิวเรียบ ไม่มีคอคอดที่ฐานของผล เมล็ดมีสีเหลืองค่อนข้างซีด ต้นมีความสูง 79 ซม. การแตกกิ่งเป็นแบบตั้ง อายุออกดอก 51 วัน อายุวันเก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่อ 81 วันน้ำหนักผล 6.8 กรัม น้ำหนักเมล็ด 1,000 เมล็ด ได้ 10 กรัม จำนวนเมล็ดต่อผล 48 เมล็ด ผลผลิตต่อต้น 1,200 กรัม
- ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
- พริกใหญ่พันธุ์ กวก. พิจิตร 2
- พื้นที่แนะนำ
- จ.อุทัยธานี จ.นครสวรรค์ จ.พิจิตร จ.สุโขทัย จ.แพร่ จ.น่าน และ จ.เลย และพื้นที่อื่นๆที่มีภูมิอากาศ
- ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
- ควรปลูกในฤดูหนาว จะทำให้ได้พริกมีคุณภาพดี ผลมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากขึ้น สีแดงสด และเป็นฤดูหนาวเป็นช่วงเวลาที่มีการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพริกน้อยกว่าฤดูอื่นๆ
- หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
- สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร
- วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
- 01 มี.ค. 2562
- ประเภทพันธุ์
- พันธุ์แนะนำ
- ลักษณะเด่น
- 1. ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองของเกษตรกร 23% สูงเทียบเท่าพริกลูกผสมแม่ปิง 80 ในฤดูปลูกปกติ (แล้ง) และให้ผลผลิตสูงกว่าเมื่อปลูกในช่วงที่มีฝนตกชุก พริกใหญ่พันธุ์พิจิตร 2 ให้ผลผลิต 2,174 – 2,926 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนพริกแม่ปิง 80 ให้ผลผลิต 1,289 – 3,298 กิโลกรัมต่อไร่ 2. มีต้นสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์การค้าทำให้สะดวกต่อการเก็บเกี่ยว โดยมีต้นสูง 78.3 เซนติเมตร พริกพื้นเมืองสูงประมาณ 57 เซนติเมตร ส่วนพริกแม่ปิง 80 สูงประมาณ 72 เซนติเมตร 3. ผลมีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด คือ มีขนาดใหญ่เรียวยาว ยาว 11.7 เซนติเมตร เนื้อหนาเฉลี่ย 1.95 มิลลิเมตร สีแดงเข้มและเผ็ดน้อย โดยมีความเผ็ด 26,800 สโควิลล์ ตรงกับความต้องการของโรงงานผลิตซอสพริก เผ็ดน้อยกว่าพริกแม่ปิง 80
- ประเภทพืช
- พืชสวน
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ