สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่







<< กลับสู่หน้ารายการ

ดาหลาพันธุ์ กวก. ยะลา 2



ดาวโหลดข้อมูล
ประวัติ
ดาหลาพันธุ์ยะลา 1 และดาหลาพันธุ์ยะลา 2 (ดาหลาลูกผสมสายต้น 8 และสายต้น 9 (บัวชมพู x ดาหลาดำ)) เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างดาหลาบัวชมพู (Etlingera elatior) กับ ดาหลาดำ (Etlingera fulgens) และดาหลาพันธุ์ยะลา 3 และดาหลาพันธุ์ยะลา 4 (ดาหลาลูกผสมสายต้น 2 และ สายต้น 3 (บานเย็น x แดงป่า)) เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างดาหลาบานเย็น (Etlingera elatior) กับ ดาหลาแดงป่า (Etlingera fulgens)ในปี 2549–2551 และได้คัดเลือกต้นที่มีลักษณะดีในปี 2551–2557 ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา จังหวัดยะลา และในปี 2559–2561 ทำการประเมินพันธุ์ลูกผสม โดยศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ ลักษณะ ทางการเกษตร ปลูกทดสอบกับพันธุ์การค้า คือ ดาหลาทั่วไปพันธุ์แดงดก ในแหล่งทดสอบ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย จังหวัดเชียงราย ศูนย์วิจัยพืชสวนเลย จังหวัดเลย และศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
ลักษณะประจำพันธุ์
ทรงกอตั้งตรงหรือเอียงประมาณ 10องศา ลักษณะลำต้นมีลำต้นใต้ดิน (rhizome) ความสูง 170-190 ซม. จำนวนใบ 8-16 ต่อต้น สีของใบอ่อนผิวใบสีเขียว (G137A) ท้องใบสีม่วงอมเทา (GP183A) สีของใบแก่ผิวใบสีเขียว (G137A) ท้องใบสีเขียวอมเทา (GP186C) รูปร่างของใบยาวรี ขนาดของใบกว้าง 14 ซม. ยาว 68 ซม. ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบเรียวแหลม ไม่มีขนบนแผ่นใบ เส้นก้านใบปรากฏชัดด้านท้อง ใบสีแดงอมม่วง ลักษณะช่อดอกทรงถ้วย ขนาดช่อดอกกว้าง 7.02 ซม. ยาว 7.39 ซม. จำนวนกลีบประดับ 97กลีบ สีของกลีบประดับสีแดงเข้ม (R53A) ขอบกลีบประดับสีเขียวอมเหลือง (YG144A) จำนวนดอกย่อย 92 ดอก สีของดอกย่อยสีแดงปลายกลีบปากสีเหลือง สีก้านช่อดอกสีเขียวอมเหลือง (YG143B) ความยาวก้านช่อดอก 54.06 ซม. ขนาดก้านช่อดอกกว้าง 1 ซม. รูปร่างผลคล้ายชมพู่ หยดน้ำ รูปไข่ (Ovate) ขนาดของผลกว้าง 2 ซม. ยาว 3.65 ซม. จำนวนพูในผล 3 พู ขนาดของเมล็ดกว้าง 0.28 ซม.ยาว 0.37 ซม. เมล็ดสีดำ จำนวนวันตั้งแต่วันแทงตาดอกถึงวันเก็บเกี่ยวดอกบาน 80 เปอร์เซ็นต์ 68 วัน ผลผลิตดอก 300 ดอก/กอ/ปี น้ำหนักของช่อดอก 98 กรัม อายุปักแจกัน ดอกบาน 80-100 เปอร์เซ็นต์ 6 วัน
ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
ดาหลาพันธุ์ กวก. ยะลา 2
พื้นที่แนะนำ
ปลูกได้ทั่วไปในดินร่วนอุดมสมบูรณ์ ควรปลูกในที่มีปริมาณความเข้มแสง 80–100 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิเฉลี่ย 17-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 50–81 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,100–3,300 มิลลิเมตรต่อปี
ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
ควรเลือกพื้นที่ปลูกที่ไม่เคยมีประวัติของโรคเหี่ยว (Ralstonia solanacearum) และไม่เคยปลูกพืชอาศัยของโรคนี้ เช่น พืชตระกูลขิง มะเขือเทศ มันฝรั่ง งา ยาสูบ และหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง
หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร
วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
15 ส.ค. 2562
ประเภทพันธุ์
พันธุ์แนะนำ
ลักษณะเด่น
1. ช่อดอกทรงถ้วย สีแดงอมส้ม (R53C) ขอบกลีบประดับสีเขียวอ่อนเด่นสะดุดตาเรียงซ้อนหลายชั้นเรียงเป็น ระเบียบคล้ายดอกบัว ก้านช่อดอกสีเขียวอมเหลือง (YG143B) ขนาดช่อดอก กว้าง x ยาว 7.02 x 7.39 เซนติเมตร เล็กกว่า พันธุ์แดงดก ที่มีขนาดช่อดอก 17.01 x 8.21 เซนติเมตร 2. น้ำหนักดอกเฉลี่ย 98.00 กรัม เมื่อดอกบาน 80 เปอร์เซ็นต์ น้อยกว่าพันธุ์แดงดก ร้อยละ 52.48 3. ผลผลิตดอก 300 ดอกต่อกอต่อปี (อายุ 3 ปี หลังปลูก) มากกว่าพันธุ์แดงดก ร้อยละ 56.25 4. อายุปักแจกัน 6 วัน เมื่อดอกบาน 80-100 เปอร์เซ็นต์

ดาวโหลดข้อมูล

<< กลับสู่หน้ารายการ