สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่







<< กลับสู่หน้ารายการ

กล้วยน้ำว้าพันธุ์ กวก. สุโขทัย 1



ดาวโหลดข้อมูล
ประวัติ
สถาบันวิจัยพืชสวนโดยศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย ได้คัดเลือกสายต้นหรือพันธุ์กล้วยน้ำว้า จากแปลงรวบรวมและอนุรักษ์พันธุกรรมกล้วย ซึ่งรวบรวมกล้วยน้ำว้าไว้มากกว่า 30 ตัวอย่าง และต้นกล้วยน้ำว้าที่กลายพันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จำนวน 200 ตัวอย่าง ระหว่างปี 2547-2554 โดยใช้เกณฑ์การคัดเลือกกล้วยน้ำว้า คือ ให้ผลผลิตสูง มีจำนวนหวีต่อเครือไม่ต่ำกว่า 7 หวี เนื้อแน่น สีเนื้อมีสีขาวนวลถึงเหลือง รสชาติหวาน คุณภาพการบริโภคดี ผู้บริโภคยอมรับสูง สามารถคัดเลือกไว้ 7 สายต้นหรือพันธุ์ นำไปปลูกเปรียบเทียบสายต้น 3 ปี (2555–2557) คัดเลือกสายต้นที่ดีเด่นไว้ 2 สายต้น และปี 2558-2560 นำไปปลูกทดสอบ 3 สถานที่ คือ ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเลย และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี ที่มีสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน พบว่า กล้วยน้ำว้าสายต้น สท. 55-4 มีผลผลิตเฉลี่ยเป็นน้ำหนักเครือ และจำนวนหวีต่อเครือสูงสุดทั้ง 3 สถานที่ผลิต คือ ให้น้ำหนักเครือเฉลี่ย 16.1 กิโลกรัม มี 9.8 หวีต่อเครือ โดยผลผลิตในหน่อรุ่นที่ 1 ที่ ศวส.สุโขทัย ให้น้ำหนักเครือเฉลี่ยสูงสุด 24.5 กิโลกรัม และมีคุณค่าทางโภชนาการ
ลักษณะประจำพันธุ์
ลำต้นเทียมสูง 4.90 ม. เส้นรอบวง 69.6 ซม. ลำต้นเทียมมีสีเขียวอมเหลือง (YG 152A) จำนวนหน่อ 11 หน่อ ตำแหน่งของหน่อข้าง ขนานกับต้นแม่ ใบ ปื้นบนโคนก้านใบมีขนาดปานกลาง มีสีน้ำตาล (B 200A) ร่องก้านใบมีลักษณะเปิดโค้งเข้าหากัน ก้านใบมีสีน้ำตาล (B 200B) ก้านใบมีความยาว 78 ซม. แผ่นใบมีขนาดยาว 238 ซม. กว้าง 60 ซม. สีผิวใบด้านบนสีเขียว (G 137A) ด้านใต้ใบสีเขียว (G 137B) ปลายใบรูปร่างตรงและมน ก้านช่อดอกมีขนาดยาว 7.8 ซม. กว้าง 6.9 ซม. ปลีเส้นรอบวงขนาด 37.3 ซม. กว้าง 12.3 ซม. ยาว (ของปลีกล้วยในระยะเก็บเกี่ยว) 32 ซม. ปลายใบประดับรูปร่างแหลม สีผิวด้านในของใบประดับแดง (R 46A) พฤติกรรมของดอกเพศผู้ติดทน สีพื้นของกลีบรวมเชิงประกอบสีแดง (R 48A) สีของพูของกลีบรวมเชิงประกอบสีเหลืองอมส้ม (YO 14A) สีของกลีบรวมอิสระสีครีม (YW 158C) รูปร่างตรงส่วนปลายของกลีบรวมอิสระมีลักษณะสามเหลี่ยม การยื่นของอับเรณูตรงระดับฐานพูบนกลีบรวมเชิงประกอบต่ำกว่าฐานพู ก้านชูอับเรณูสีเหลือง (Y 11C) อับเรณูสีแดงอมม่วง (RP 65A) สีพื้นของก้านเกสรเพศเมียสีครีม (YW 158B) รูปร่างของก้านเกสรเพศเมียมีลักษณะโค้ง เครือกล้วยรูปร่างบันไดเวียน จำนวนผล 18 ผลต่อหวี ผลมีขนาดยาว 14.2 ซม. กว้าง 3.8 ซม. รูปหน้าตัดผลตามขวางค่อนข้างกลม รูปร่างปลายผลคอขวด ก้านผลมีขนาด ยาว 3.1 ซม. กว้าง 1.3 ซม. สีของเปลือกผลดิบสีเขียวอมเหลือง (YG 144A) สีของเปลือกผลสุกสีเหลือง (Y 8C) ความหนาของเปลือก 0.1 ซม. สีของเนื้อผลดิบสีครีมอ่อน (YW 158D) สีของเนื้อผลสุกสีครีมอ่อน (YW 158C) ลักษณะเนื้อนิ่ม ผลผลิตน้ำหนักเครือเฉลี่ย 16.1 กิโลกรัม จำนวนหวี 9.8 หวีต่อเครือ Total Soluble Solids 22 - 24 ํbrix โดยคุณสมบัติทางเคมีประกอบด้วยพลังงาน (Energy) 361 kcal โปรตีน (Protein) ร้อยละ2.38 โดยน้ำหนักแห้ง ความชื้น (Moisture) ร้อยละ 6.93 โดยน้ำหนักแห้ง เถ้า (Ash)ร้อยละ 2.33 โดยน้ำหนักแห้ง ไขมัน (Fat)ร้อยละ 0.32 โดยน้ำหนักแห้ง เส้นใย (Crude fiber) ร้อยละ 1 โดยน้ำหนักแห้ง คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) ร้อยละ 87 โดยน้ำหนักแห้ง วิตามินบี 1 (Vitamin B1) 0.007มก./100 ก. วิตามินบี 2 (Vitamin B2) 0.011มก./100 ก. วิตามินบี 3 (Vitamin B3) 0.0061มก./100 ก. วิตามินซี (Vitamin C) 0.24 มก./100 ก. แคลเซียม (Calcium) 24.7 มก./100 ก. แมกนีเซียม (Magnesium) 37.5 มก./100 ก. ฟอสฟอรัส (Phosphorus) 35.1มก./100 ก. โพแทสเซียม (Potassium) 309มก./100 ก.
ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
กล้วยน้ำว้าพันธุ์ กวก. สุโขทัย 1
พื้นที่แนะนำ
สามารถปลูกได้ดีทั่วไป ในพื้นที่ที่มีการระบายน้ำดี
ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
-
หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร
วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
15 ส.ค. 2562
ประเภทพันธุ์
พันธุ์แนะนำ
ลักษณะเด่น
1. ให้ผลผลิตสูง 1.1 น้ำหนักเครือเฉลี่ย 16.1 กิโลกรัม สูงกว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง (13.7 กิโลกรัม) ร้อยละ 17 1.2 จำนวนหวีเฉลี่ย 9.8 หวีต่อเครือ สูงกว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง (8.9 หวี) ร้อยละ 10 2. คุณค่าทางโภชนาการ ต่อกล้วยน้ำว้า 100 กรัม 2.1 วิตามินบี 3 0.006 มิลลิกรัม สูงกว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง (0.003 มิลลิกรัม) ร้อยละ 97 2.2 โพแทสเซียม 309 มิลลิกรัม สูงกว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง (279 มิลลิกรัม) ร้อยละ 11 3. ลักษณะผลค่อนข้างป้อมกลม เนื้อมีสีครีมอ่อน เนื้อละเอียดเหนียว รสหวานไม่ปนเปรี้ยว
ประเภทพืช
พืชสวน

ดาวโหลดข้อมูล

<< กลับสู่หน้ารายการ