สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่







<< กลับสู่หน้ารายการ

งาแดงพันธุ์ กวก. อุบลราชธานี 3



ดาวโหลดข้อมูล
ประวัติ
งาแดงสายพันธุ์ RSMUB54-12 เป็นสายพันธุ์ที่คัดเลือกจากแปลงรวบรวมพันธุ์ของศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ปี 2550-2553 เป็นสายพันธุ์นำเข้าจากประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และทำการคัดเลือกพันธุ์แบบสายพันธุ์บริสุทธิ์ (Pure Line Selection) จากนั้นนำเข้าประเมินผลผลิต ตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ 4 ขั้นตอน ในปี 2554-2559 คือ การเปรียบเทียบเบื้องต้น เปรียบเทียบมาตรฐาน เปรียบเทียบในท้องถิ่น และเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร โดยใช้งาแดงพันธ์อุบลราชธานี 1 และพันธุ์อุบลราชธานี 2 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ศึกษาความต้านทานโรคไหม้ดำ (Bacterial wilt : Ralstonia solanacearum) และโรคเน่าดำ (Charcoal rot : Macrophomina phaseolina) และศึกษาความต้านทานต่อแมลงศัตรูงาที่สำคัญของงาในปี 2561
ลักษณะประจำพันธุ์
ลักษณะลำต้นสีเขียวตั้งตรง ความสูงต้นประมาณ 140-150 เซนติเมตร.แตกกิ่ง 2 – 3 กิ่ง อายุออกดอก 30-38 วัน ดอกสีขาวอมม่วง ฝักแบบ 2 พู ฝักเรียงตัวแบบเวียนสลับรอบลำต้น มี 1 ฝัก/ซอกใบ มีขนที่ฝักปานกลาง จำนวนฝักต่อต้นเฉลี่ย 50 ฝัก เมล็ดสีแดง จำนวนเมล็ดต่อฝักเฉลี่ย 66 เมล็ด ขนาดเมล็ดโตน้ำหนัก 1,000 เมล็ด หนัก 3.16 กรัม อายุเก็บเกี่ยวปานกลาง 80-85 วัน ผลผลิตเฉลี่ย 130 - 200 กิโลกรัม/ไร่ (แหล่งปลูกทั่วไป-แหล่งปลูกสำคัญ) ปริมาณน้ำมันเฉลี่ย 46.4% มีความต้านทานต่อการทำลายของมวนฝิ่นสีเขียว แต่ไม่ต้านทานต่อโรคไหม้ดำ และโรคเน่าดำ
ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
งาแดงพันธุ์ กวก. อุบลราชธานี 3
พื้นที่แนะนำ
เหมาะสำหรับปลูกในแหล่งปลูกที่สำคัญ และสภาพการผลิตพืชไร่ทั่วไป ควรมีการจัดการที่เหมาะสมและเลือกระยะเวลาที่ไม่กระทบแล้งในช่วงปลูก
ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
ไม่ควรปลูกในที่มีการระบายน้ำไม่ดี หรือมีน้ำท่วมขัง หรือปลูกซ้ำที่บ่อยๆ
หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี สถาบันวิจัยำพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
19 ก.ค. 2564
ประเภทพันธุ์
พันธุ์แนะนำ
ลักษณะเด่น
1. ให้ผลผลิตเฉลี่ยในแหล่งปลูกสำคัญ (เพชรบูรณ์ และนครสวรรค์) 216 กิโลกรัม/ไร่ สูงกว่าพันธุ์งาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 1 (192 กิโลกรัม/ไร่) และงาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 2 (206 กิโลกรัม/ไร่) ร้อยละ 12 และ 5 ตามลำดับ ในแหล่งปลูกทั่วไปให้ผลผลิตเฉลี่ย 130 กิโลกรัม/ไร่ สูงกว่างาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 1 (117 กิโลกรัม/ไร่) ร้อยละ 11 2. ปริมาณน้ำมันเฉลี่ย 46.4% สูงกว่างาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 1 (45.5%) และงาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 2 (45.8%) ร้อยละ 2 และ 1 ตามลำดับ 3. มีความต้านทานต่อการทำลายของมวนฝิ่นสีเขียว

ดาวโหลดข้อมูล

<< กลับสู่หน้ารายการ