สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่







<< กลับสู่หน้ารายการ

ฝ้ายพันธุ์ กวก. ตากฟ้า 8



ดาวโหลดข้อมูล
ประวัติ
ฝ้ายสายพันธุ์ AKH4-E17 เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ฝ้าย ระหว่างฝ้ายเส้นใยสั้น ใบขน ที่ทนทานต่อการเข้าทำลายของเพลี้ยจักจั่นฝ้าย คือพันธุ์ AKH4 เส้นใยสีขาว ผลผลิตสูง และอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ที่ใช้เป็นพันธุ์แม่กับพันธุ์ตากฟ้า 3 เส้นใยสั้นสีน้ำตาล และต้านทานต่อโรคใบหงิก ที่ใช้เป็นพันธุ์พ่อ เมื่อปี พ.ศ.2549 และทำการคัดเลือกแบบ Mass Selection และ Pedigree Selection ที่ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ระหว่างปี 2551-2555 จนได้สายพันธุ์ดีเด่นจำนวน 30 สายพันธุ์ จากนั้นจึงทำการประเมินผลผลิต และศึกษาข้อมูลจำเพาะของสายพันธุ์ตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์พืชของกรมวิชาการเกษตร ระหว่างปี 2556-2562 ซึ่งพบว่าสายพันธุ์ AKH4-E17 เส้นใยสั้นสีน้ำตาล ให้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคใบหงิก และทนทานต่อการเข้าทำลายของเพลี้ยจักจั่นฝ้ายในการปลูกสภาพที่ไม่มีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูฝ้าย ตลอดจนมีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นกว่าพันธุ์ตากฟ้า 3
ลักษณะประจำพันธุ์
ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
ฝ้ายพันธุ์ กวก. ตากฟ้า 8
พื้นที่แนะนำ
ปลูกได้ในแหล่งผลิตฝ้ายของประเทศไทย สามารถปลูกในพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ ในสภาพที่ไม่มีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูฝ้าย
ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
ถึงแม้ว่าฝ้ายสายพันธุ์ AKH4-E17 จะมีศักยภาพในการให้ผลผลิต ในการปลูกสภาพที่ไม่มีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูฝ้าย แต่ต้องมีการจัดการที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการใช้วิธีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูแบบผสมผสาน ตั้งแต่การเลือกพื้นที่ปลูก ฤดูปลูก รวมถึงการใช้สารชีวภัณฑ์ร่วมด้วย หากพบว่ามีการระบาดของแมลงศัตรูฝ้ายอย่างรุนแรง
หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
19 ก.ค. 2564
ประเภทพันธุ์
พันธุ์รับรอง
ลักษณะเด่น
1. มีเส้นใยเป็นสีน้ำตาลตามธรรมชาติ (GREYED ORANGE: 165C)1/ 2. ให้ผลผลิตสูง 154 กิโลกรัมต่อไร่ 3. ต้านทานต่อโรคใบหงิก 4. ทนทานต่อการเข้าทำลายของเพลี้ยจักจั่นฝ้าย 5. มีอายุการเก็บเกี่ยวที่สั้นกว่าพันธุ์ตากฟ้า 3 ประมาณ 10 วัน 1/ ใช้แผ่นคู่มือเทียบสีพืชผักและผลไม้: Royal Horticultural Society (RHS Colour Chart) (Fifth edition). 2007.

ดาวโหลดข้อมูล

<< กลับสู่หน้ารายการ