สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่







<< กลับสู่หน้ารายการ

ปาล์มน้ำมันลูกผสมพันธุ์ กวก. สุราษฎร์ธานี 12



ดาวโหลดข้อมูล
ประวัติ
ปาล์มน้ำมันลูกผสมพันธุ์ กวก. สุราษฏร์ธานี 12 หรือ ปาล์มน้ำมันคู่ผสม 207 ได้จากการผสมข้ามระหว่างแม่พันธุ์ 75/1319D กลุ่ม Deli Dura กับพ่อพันธุ์ 159/398T กลุ่ม Tanzania ในปี 2544 โดยแม่พันธุ์ 75/1319D ได้จากการคัดเลือกต้นหมายเลข 1319D จากสายพันธุ์ C42:67D x DAM564:693D และพ่อพันธุ์ 159/398T ได้จากคัดเลือกต้นหมายเลข 398T ซึ่งได้จากประชากรสายพันธุ์ 159 (TAN544:137T x TAN544:180T) กลุ่ม Tanzania ปี 2545-2546 ดำเนินการผลิตเมล็ดงอกและต้นกล้าปาล์มน้ำมัน และปลูกทดสอบคู่ผสม 207 ร่วมกับคู่ผสมอื่น ๆ ในปี 2546 โดยมีพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ณ ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี ระหว่างปี 2547-2548 ดูแลรักษาต้นกล้าอายุ 1-2 ปี และบันทึกลักษณะประจำพันธุ์ ระหว่างปี 2549-2560 ศึกษาและประเมินลักษณะทางการเกษตร บันทึกข้อมูลลักษณะทางการเกษตรของปาล์มน้ำมันต่อเนื่อง อายุ 3-14 ปี บันทึกข้อมูลผลผลิตทะลายสด องค์ประกอบผลผลิต องค์ประกอบทะลาย การเจริญเติบโต ตามแบบแผนงานวิจัยปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ปี 2561-2564 วิเคราะห์ผลและคัดเลือกคู่ผสมดีเด่น
ลักษณะประจำพันธุ์
สีของทางใบ เขียวปนน้ำตาล ความยาวทางใบปานกลาง ความยาวก้านทะลายก้านทะลายสั้น ลักษณะรูปทรงทะลาย ทรงกลมปลายแหลม ความยาวหนามหนามสั้น ความหนาแน่นหนามน้อย ลักษณะช่อทะลายย่อยหนามสั้น ลักษณะผลกลม ปลายแหลม ขนาดผลใหญ่ ความหนาของเปลือกผลหนา ความหนาของกะลา (กะลาต่อผล) กะลาบาง (8.7 เปอร์เซ็นต์) ความหนาของเนื้อใน (เนื้อในต่อผล) เนื้อในหนา (10.1 เปอร์เซ็นต์) สีผลผลดิบสีดำและผลสุกสีแดง (Nigrescens) ลักษณะทรงต้นสูงปานกลาง (ที่อายุ 11 ปี มีความสูง 391.1 เซนติเมตร)
ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
ปาล์มน้ำมันลูกผสมพันธุ์ กวก. สุราษฎร์ธานี 12
พื้นที่แนะนำ
ควรปลูกในพื้นที่เหมาะสมสำหรับปาล์มน้ำมัน โดยแบ่งเป็นพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีความเหมาะสมสูงและเหมาะสมปานกลาง (บัณฑิต และคํารณ, 2542) พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีความเหมาะสมสูง หมายถึง พื้นที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,000-4,000 มิลลิเมตรต่อปี มีจำนวนเดือนที่มีปริมาณฝนน้อยกว่า 100 มิลลิเมตรต่อเดือน ไม่เกิน 1 เดือน ดินมี การระบายน้ำดี ไม่มีน้ำท่วมขัง และมีความอุดมสมบูรณ์ระดับปานกลางถึงสูงมาก พื้นที่มีความลาดชันอยู่ระหว่าง 0-5 เปอร์เซ็นต์ สามารถให้ผลผลิตทะลายปาล์มสดมากกว่า 3,500 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีความเหมาะสมปานกลาง หมายถึง พื้นที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,800-1,900 มิลลิเมตรต่อปี มีจำนวนเดือนที่มีปริมาณฝนน้อยกว่า 100 มิลลิเมตรต่อเดือน 1-2 เดือน ดินมีการระบายน้ำช้า มีน้ำท่วมขังสั้น ๆ (น้อยกว่า 5 วัน) และมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ พื้นที่มีความลาดชันอยู่ระหว่าง 5-12 เปอร์เซ็นต์ สามารถให้ผลผลิตทะลายปาล์มสด 3,000-3,500 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี
ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
พันธุ์ปาล์มน้ำมันเป็นลูกผสมชั่วที่ 1 (F1) จึงไม่ควรนำเมล็ดที่ได้ไปขยายพันธุ์ต่อ เพราะจะทำให้ต้นปาล์มน้ำมันมีการกระจายตัวในลักษณะต่าง ๆ เช่น มีลักษณะกะลาหนาหรือทะลายฝ่อ ทำให้ผลผลิตต่ำ น้ำมันน้อย
หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
08 ส.ค. 2566
ประเภทพันธุ์
พันธุ์แนะนำ
ลักษณะเด่น
1. ผลผลิตทะลายสดสูง ให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ยช่วงอายุ 4-11 ปี 4,310.8 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 ซึ่งให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,439.4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี คิดเป็น 25.3 เปอร์เซ็นต์ 2. ปริมาณเนื้อในเมล็ดสูง มีเนื้อในต่อผล 10.1 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานการคัดเลือกและพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 6.3 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็น 60.3 เปอร์เซ็นต์ 3. ลักษณะผลมีกะลาบาง มีกะลาต่อผล 8.7 เปอร์เซ็นต์ น้อยกว่าพันธุ์สุราษฎร์ธานี 3 ซึ่งมีกะลาต่อผล 9.7 เปอร์เซ็นต์

ดาวโหลดข้อมูล

<< กลับสู่หน้ารายการ