สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่







<< กลับสู่หน้ารายการ

อ้อย พันธุ์ กวก. ขอนแก่น 4



ดาวโหลดข้อมูล
ประวัติ
อ้อยพันธุ์ กวก. ขอนแก่น 4 หรือ อ้อยโคลน TPJ04-768 เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์แม่ 94-2-128 ที่มีผลผลิตและความหวานสูง ซึ่งเป็นอ้อยโคลนดีเด่นจากคู่ผสมของ 84-2-264 (Co625/CN1(F160/Co775)) กับอู่ทอง 1 (F172 ผสมเปิด) และพันธุ์พ่อ 03-4-331 ที่มีผลผลิตสูง และปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้กว้าง ซึ่งเป็นอ้อยลูกผสมข้ามสปีชีส์ ระหว่าง 88-2-401 (F156 ผสมเปิด) กับพง (ThS98-168 และ ThS98-264) ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ในปี 2547 คัดเลือกลูกอ้อยขั้นที่ 1 2 และ 3 แบบ individual selection ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ในปี 2548-2552 ประเมินผลผลิตในการเปรียบเทียบเบื้องต้น การเปรียบเทียบมาตรฐาน การเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร และการทดสอบในไร่เกษตรกร ในปี 2553-2564 ซึ่งดำเนินการในศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเลย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรร้อยเอ็ด โรงงานน้ำตาลเกษตรผล จังหวัดอุดรธานี ไร่เกษตรกรจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม อุดรธานี มุกดาหาร อุบลราชธานี ชลบุรี และอุตรดิตถ์ รวมจำนวน 14 แปลง ทดสอบพันธุ์อ้อยพลังงานและศึกษาศักยภาพการผลิตพลังงานชีวภาพ จำนวน 1 แปลง ณ นิคมสร้างตนเองห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี ในปี 2555-2557 เพื่อคัดเลือกโคลนอ้อยที่มีลักษณะทางการเกษตรที่ดี (ผลผลิตสูง แตกกอและไว้ตอดี ฯลฯ) เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอาศัยน้ำฝน และปรับตัวได้กว้าง
ลักษณะประจำพันธุ์
ลักษณะทรงกอตั้งตรง ลักษณะการติดของกาบใบกับลำต้นแน่น สีของยอดอ้อยเขียว ลักษณะปล้องกลางคอด ลักษณะปล้องตัดขวางกลม การเรียงตัวของปล้องค่อนข้างตรง ไขที่ปล้องมีปานกลาง สีปล้องเมื่อต้องแสงเขียวเหลือบเหลือง สีปล้องเมื่อไม่ต้องแสงเหลืองเหลือบเขียว ร่องเหนือตาไม่มี รอยแตกของปล้องไม่มี สีของวงเจริญเมื่อต้องแสงเหลือง ลักษณะของวงเจริญเรียบเท่ากับปล้อง การเรียงตัวของจุดกำเนิดราก 4 แถว ไม่เป็นระเบียบ สีของจุดกำเนิดรากเมื่อไม่ต้องแสงเหลือง ความกว้างของวงราก (ซม.) ปานกลาง (0.8-1.3 ซม.) วงไขมี ความนูนของตานูนปานกลาง ลักษณะของตารูปกลม ตำแหน่งยอดตาต่ำกว่าวงเจริญ ขนที่ตาไม่มี ลักษณะของทรงใบปลายโค้ง ความกว้างของใบ (ซม.) ปานกลาง ขนขอบใบไม่มี ลักษณะของลิ้นใบตรงกลางโป่งออก ปลายเรียวแหลมทั้ง 2 ข้าง ลักษณะหูใบขอบด้านนอกโค้งธรรมดา ลักษณะหูใบขอบด้านในใบหอกสั้น ลักษณะของคอใบสามเหลี่ยมปลายคด สีของคอใบม่วง ขนที่กาบใบไม่มี
ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
อ้อย พันธุ์ กวก. ขอนแก่น 4
พื้นที่แนะนำ
แนะนำให้ปลูกอ้อยพันธุ์นี้ในพื้นที่ปลูกอ้อยเขตอาศัยน้ำฝน
ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
-
หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
08 ส.ค. 2566
ประเภทพันธุ์
พันธุ์แนะนำ
ลักษณะเด่น
1. ให้ผลผลิตอ้อย 11.71 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 และ K88-92 ร้อยละ 4 ให้ผลผลิตชานอ้อยเฉลี่ย 1.96 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 และ K88-92 ร้อยละ 41 และ 60 ตามลำดับ มีปริมาณเยื่อใยเฉลี่ยร้อยละ 17.12 สูงกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 และ K88-92 ร้อยละ 37 และ 56 ตามลำดับ ให้ผลผลิตกากน้ำตาล 523 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 และ K88-92 ร้อยละ 5 และ 3 ตามลำดับ 2. ให้พลังงานไฟฟ้า 596 กิโลวัตต์ต่อไร่ และพลังงานแก๊สชีวภาพ 496 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 ร้อยละ 11 และ 12 ตามลำดับ

ดาวโหลดข้อมูล

<< กลับสู่หน้ารายการ