สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่







<< กลับสู่หน้ารายการ

ถั่วหรั่งพันธุ์ กวก. สงขลา 2



ดาวโหลดข้อมูล
ประวัติ
ถั่วหรั่งพันธุ์ กวก. สงขลา 2 หรือ ถั่วหรั่งสายพันธุ์ TVsu 89 ได้จากการคัดเลือกเชื้อพันธุกรรมที่ได้รับจากสถาบันวิจัยการเกษตรเขตร้อน นานาชาติ ประเทศไนจีเรีย (IITA) เพื่อการศึกษาวิจัยด้านพันธุกรรมและปรับปรุงพันธุ์จานวน 500 ตัวอย่างพันธุ์ในปี พ.ศ. 2546 ได้ผ่านการคัดเลือกความบริสุทธิ์ของพันธุ์ ปลูกศึกษาเบื้องต้น แล้วจึงนาเข้าเปรียบเทียบการให้ผลผลิตในแปลงเกษตรกรเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างระหว่างปี พ.ศ. 2551 ถึง 2553 รวม 18 แปลง โดยดำเนินการ ดังนี้ ปลูกฟื้นฟูความมีชีวิตและคัดเลือกต้นที่มีลักษณะดี ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สงขลา ในปี พ.ศ. 2549 รวม 2 ฤดูปลูก ปลูกขยายปริมาณเมล็ดและคัดเลือกแบบ Mass selection ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สงขลา ในปี พ.ศ. 2550 รวม 3 ฤดูปลูก ดำเนินการทดสอบในไร่เกษตรกร ในปี พ.ศ. 2551 ถึง 2553 ในพื้นที่จังหวัดพัทลุง 5 แปลง สงขลา 5 แปลง นราธิวาส 3 แปลง ตรัง 1 แปลง และปัตตานี 4 แปลง รวม 18 แปลง โดยใช้พันธุ์สงขลา 1 ที่มีอายุเก็บเกี่ยว 120 วัน เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ แล้วจึงได้นำเสนอเพื่อพิจารณาเป็นพันธุ์แนะนำต่อคณะกรรมการบริหารงานวิจัยสถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงานในปี พ.ศ. 2555 แต่คณะกรรมการฯ ในขณะนั้นมีความเห็นว่า ควรจะมีการเปรียบเทียบพันธุ์ตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์เพิ่มเติมด้วย ดังนั้น จึงนำเข้าประเมินพันธุ์อีกครั้งตามขั้นตอน คือ การเปรียบเทียบมาตรฐาน จำนวน 2 แปลง ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สงขลา และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพัทลุง ในปี พ.ศ. 2559 การเปรียบเทียบในท้องถิ่น จำนวน 4 แปลง ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปัตตานี และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตรัง ในปี พ.ศ. 2559 และการเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร ดำเนินการในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 4 แปลง ที่ไร่เกษตรกรจังหวัดพัทลุง 2 แปลง และไร่เกษตรกรจังหวัดสงขลา 2 แปลง นอกจากนี้ ได้มีการศึกษาถึงระยะปลูกและอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับถั่วหรั่งสายพันธุ์นี้ในปี พ.ศ. 2561 ซึ่งการดำเนินการเพิ่มเติมระหว่างปี พ.ศ. 2559 ถึง 2561 เป็นการดำเนินการภายใต้โครงการวิจัยของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 8 เนื่องจากถั่วหรั่งเป็นพืชท้องถิ่นของภาคใต้
ลักษณะประจำพันธุ์
สีใบเขียว สีก้านใบเขียว รูปทรงใบย่อยรูปใบหอกปลายใบมน ขนาดเล็กกว่าสงขลา 1 สีลำต้น ม่วงแดง สีดอกเหลือง ทรงต้นพุ่มแคบขนาดเล็ก สีเปลือกฝักสดขาวปนน้ำตาล สีเยื่อหุ้มเมล็ดสดขาว สีเยื่อหุ้มเมล็ดแห้ง น้ำตาลอ่อน
ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
ถั่วหรั่งพันธุ์ กวก. สงขลา 2
พื้นที่แนะนำ
ถั่วหรั่งสายพันธุ์ TVsu 89 สามารถปลูกได้ในสภาพพื้นที่ซึ่งเหมาะสมกับการปลูกถั่วหรั่งโดยทั่วไป คือ ในพื้นที่ดอน ดินร่วนปนทรายถึงดินทรายจัด
ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
1. มีความอ่อนแอต่อโรคใบไหม้ที่เกิดจากเชื้อ Rhizoctonia solani ในสภาพแปลงปลูกมากกว่าในพันธุ์สงขลา 1 2. ควรหลีกเลี่ยงช่วงปลูกที่จะทาให้เกิดการกระทบแล้งในช่วงอายุ 30-60 วัน
หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 กรมวิชาการเกษตร
วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
08 ส.ค. 2566
ประเภทพันธุ์
พันธุ์แนะนำ
ลักษณะเด่น
1. ผลผลิตสูง ให้ผลผลิตฝักสดและฝักแห้งเฉลี่ย 422 และ 139 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์สงขลา 1 ถึง 27 และ 31 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ 2. อายุสั้น เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ที่อายุ 85-90 วัน เร็วกว่าพันธุ์สงขลา 1 ที่นิยมปลูกในปัจจุบัน 1 เดือน 3. มีปริมาณโปรตีน 18.20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์สงขลา 1 ถึง 3.22 เปอร์เซ็นต์

ดาวโหลดข้อมูล

<< กลับสู่หน้ารายการ