สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่







<< กลับสู่หน้ารายการ

มะนาวพันธุ์ กวก. พิจิตร 2



ดาวโหลดข้อมูล
ประวัติ
มะนาวพันธุ์ กวก. พิจิตร 2 หรือ มะนาวสายต้น PCT 1-07-01-4 ได้จากการคัดเลือกสายต้นกลายของมะนาว R1-4-53 ซึ่งคัดเลือกจากมะนาวพันธุ์พิจิตร 1 ฉายรังสีแกมมา แบบ Chronic ปริมาณรังสี 250 เกรย์ โดยปี 2554-2556 นำมะนาว R1-4-53 ไปฉายรังสีแกมมา แบบ Chronic ปริมาณรังสี 5 ระดับ คือ 0 108 153 206 และ 245 เกรย์ ระดับละ 10 ต้น หลังฉายรังสีนำไปปลูกลงแปลง ปล่อยให้กิ่งด้านล่างเจริญเติบโตประมาณ 5 ตา ใช้วิธีตัดแต่งกิ่ง (Cutting back) ทำการตัดยอดกิ่งรุ่น M1V0 ปล่อยให้แตกกิ่งเพื่อเจริญเป็นรุ่น M1V1 กิ่ง M1V1 คือกิ่งที่แตกมาจากกิ่งที่ฉายรังสี เมื่อกิ่ง M1V1 เจริญแตกตาใหม่ ประมาณ 5 ตา ตัดกิ่ง เพื่อให้แตกกิ่ง เป็นรุ่น M1V2 ตัดกิ่งจนถึงรุ่น M1V3จากนั้นปล่อยให้กิ่งมีการเจริญเติบโต เมื่อมะนาวให้ผลผลิตทำการติดป้ายชื่อ แถวที่ ต้นที่ กิ่งที่และ ระดับรังสีซึ่งมีจำนวนกิ่งที่ให้ผลผลิต 249 กิ่ง คัดเลือกเหลือ 121 สายต้น ทำการคัดเลือกซ้ำ โดยการคัดเลือกจากตรวจสอบคุณภาพผลผลิตแต่ละสายต้น ตามหลักเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ จำนวนเมล็ดน้อยกว่า 15 เมล็ดต่อผล เปลือกบาง ให้ผลผลิตและคุณภาพดี จำนวน 24 สายต้น ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ปี 2557-2561 ปลูกเปรียบเทียบสายต้นมะนาวพันธุ์พิจิตร 1 ที่มีเมล็ดน้อยหรือไม่มีเมล็ด วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ ทำ 3 ซ้ำ สิ่งทดลอง ได้แก่ มะนาวพันธุ์พิจิตร 1 ที่ผ่านการฉายรังสี 24 สายต้น มีพันธุ์พิจิตร 1 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ดำเนินการ ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ปี 2562-2564 ปลูกทดสอบสายต้นมะนาวพันธุ์พิจิตร 1 ที่มีเมล็ดน้อยหรือไม่มีเมล็ด ร่วมกับพันธุ์เปรียบเทียบได้แก่ พันธุ์แป้นรำไพ และพันธุ์พิจิตร วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ ทำ 5 ซ้ำ ดำเนินการ 4 สถานที่ ได้แก่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย แปลงเกษตรกรจังหวัดพิจิตร และแปลงเกษตรกรจังหวัดเพชรบุรี พบว่ามะนาวสายต้น PCT1-07-01-4 ที่ระดับรังสี 108 เกรย์ การเจริญเติบโตดี เมล็ดน้อย เปลือกบาง กว่าพันธุ์พิจิตร 1 จึงขอเป็นพันธุ์แนะนำ
ลักษณะประจำพันธุ์
ทรงต้นแผ่ออก ลักษณะใบรูปไข่ สีของใบเขียวเข้ม ดอกสมบูรณ์เพศ สีดอกสีขาว ทรงผลทรงแป้น สีผลสีเขียว รูปทรงเมล็ดรูปไข่ สีเมล็ดสีน้ำตาล
ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
มะนาวพันธุ์ กวก. พิจิตร 2
พื้นที่แนะนำ
พื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก กำแพงเพชร นครสวรรค์ และสุโขทัย ส่วนภาคใต้ตอนบน ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี
ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
1. ไม่ควรปลูกในพื้นที่ดินทราย เพราะจะทำให้การเจริญเติบโตช้า 2. ไม่ควรปลูกในพื้นที่ขาดแคลนแหล่งน้ำ
หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 กรมวิชาการเกษตร
วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
08 ส.ค. 2566
ประเภทพันธุ์
พันธุ์แนะนำ
ลักษณะเด่น
1. เจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตเร็ว เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 8 – 12 เดือน 2. ให้จำนวนเมล็ดต่อผลเฉลี่ย 1.97 เมล็ด น้อยกว่าพันธุ์พิจิตร 1 จำนวนเมล็ดต่อผลเฉลี่ย 24.7 เมล็ด 3. ให้ความหนาเปลือกเฉลี่ย 1.78 มิลลิเมตร น้อยกว่าพันธุ์พิจิตร 1 ความหนาเปลือกเฉลี่ย 2.36 มิลลิเมตร 4. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,050 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์แป้นรำไพ ร้อยละ 141 เมื่ออายุต้น 3 ปี
ประเภทพืช
พืชสวน

ดาวโหลดข้อมูล

<< กลับสู่หน้ารายการ