สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่







<< กลับสู่หน้ารายการ

ฟ้าทะลายโจรพันธุ์ กวก. พิจิตร 1



ดาวโหลดข้อมูล
ประวัติ
ฟ้าทะลายโจรสายพันธุ์ PCT4-4 ได้จากการคัดเลือกฟ้าทะลายโจรตามแผนการคัดเลือกสายพันธุ์บริสุทธิ์ (pure lines selection) โดยปี 2547 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร รวบรวมเมล็ดพันธุ์ฟ้าทะลายโจร จากแหล่งปลูกที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ ชัยนาท เชียงใหม่ นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ พิจิตร พิษณุโลก ราชบุรี สระแก้ว และสระบุรี รวม 9 พันธุ์ จากนั้นปลูกคัดเลือกพันธุ์ละ 120 ต้น จำนวนรวม 1,080 ต้น คัดเลือกต้นตามเกณฑ์ที่กำหนด ผสมตัวเอง โดยแต่ละพันธุ์คัดเลือกไว้ 5 สายต้น ยกเว้น พันธุ์สระบุรี มี 4 สายต้น รวม 44 ต้น ปี 2548 ปลูกสายพันธุ์ที่คัดเลือกเป็นแถว ๆ ละ 10 ต้น คัดเลือกไว้ 2 ต้น ผสมตัวเองและนำไปวิเคราะห์ปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์ คัดเลือกต้นที่มีปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์มากกว่า 1.5 กรัมต่อน้ำหนักแห้ง 100 กรัม ได้ 18 สายพันธุ์ ระหว่างปี 2549-2551 ปลูกคัดเลือกฟ้าทะลายโจร 3 ครั้ง คงเหลือ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ PCT4-4 PLK5-4 และ CMI4-4 ปี 2552-2553 ปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ฟ้าทะลายโจร วางแผนแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ Randomized Complete Block Design (RCB) มี 5 ซ้ำ กรรมวิธี ได้แก่ สายพันธุ์ PCT4-4 PLK5-4 และ CMI4-4 เปรียบเทียบกับพันธุ์ราชบุรี (การค้า) 2 ฤดู ปลูกที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร คัดเลือกไว้ 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ PCT4-4 และ PLK5-4 จากนั้นในปี 2564 นำทั้งสองสายพันธุ์ไปปลูกทดสอบพันธุ์ร่วมกับพันธุ์นครปฐมและปราจีนบุรี (การค้า) โดยวางแผนแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ มี 5 ซ้ำ ดำเนินการ 3 แห่ง พบว่า สายพันธุ์ PCT4-4 มีการเจริญเติบโต ผลผลิต และปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์ดีทั้งสามสถานที่ ดีกว่าพันธุ์นครปฐมและพันธุ์ปราจีนบุรี จึงขอรับรองเป็นพันธุ์แนะนำ
ลักษณะประจำพันธุ์
1. ขนาดทรงพุ่ม มีความกว้างต้น 49.8 เซนติเมตร และมีความสูงต้น 54.7 เซนติเมตร 2. ขนาดใบ มีความกว้างใบ 3.06 เซนติเมตร และมีความยาวใบ 9.83 เซนติเมตร 3. จำนวนปล้อง 18.6 ปล้อง และความยาวปล้อง 3.37 เซนติเมตร
ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
ฟ้าทะลายโจรพันธุ์ กวก. พิจิตร 1
พื้นที่แนะนำ
แนะนำปลูกในสภาพดินร่วนและดินเหนียว มีอินทรียวัตถุสูง พื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และเขตภาคกลาง
ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
1. ไม่ควรปลูกในพื้นที่น้ำท่วมขัง 2. หลีกเลี่ยงพื้นที่ปลูกที่มีสารอินทรีย์ อนินทรีย์ที่มีพิษปนเปื้อน และโลหะหนัก 3. แหล่งปลูกที่มีลมแรงพัดผ่านควรมีแนวบังลม เพื่อป้องกันต้นหักล้ม 4. การปลูกเพื่อจำหน่ายผลผลิตและสาระสำคัญ ไม่แนะนำปลูกในฤดูแล้ง 5. กรณีปลูกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ และเพื่อรักษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ควรปลูกห่างจากบริเวณที่มีการปลูกพันธุ์อื่นอย่างน้อย 50 เมตร เพื่อให้ได้เมล็ดตรงตามพันธุ์
หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก กรมวิชาการเกษตร
วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
26 มิ.ย. 2567
ประเภทพันธุ์
พันธุ์แนะนำ
ลักษณะเด่น
1. ให้ผลผลิตสดเฉลี่ย 2,073 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์นครปฐม 28 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์ปราจีนบุรี 43 เปอร์เซ็นต์ 2. ให้ผลผลิตแห้งเฉลี่ย 666 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์นครปฐม 28 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์ปราจีนบุรี 52 เปอร์เซ็นต์ 3. ให้ปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์เฉลี่ย 4.38 กรัมต่อน้ำหนักแห้ง 100 กรัม สูงกว่าพันธุ์นครปฐม 36 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์ปราจีนบุรี 29 เปอร์เซ็นต์

ดาวโหลดข้อมูล

<< กลับสู่หน้ารายการ