<< กลับสู่หน้ารายการ
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ
ถั่วหรั่งพันธุ์ กวก. สงขลา 3
- ประวัติ
- ถั่วหรั่งสายพันธุ์ TVsu1221 ได้จากการคัดเลือกเชื้อพันธุกรรมที่ได้รับจากสถาบันวิจัยการเกษตรเขตร้อน นานาชาติ ประเทศไนจีเรีย (IITA) เพื่อการศึกษาวิจัยด้านพันธุกรรมและปรับปรุงพันธุ์จำนวน 500 ตัวอย่างพันธุ์ในปี พ.ศ. 2546 ได้ผ่านการคัดเลือกความบริสุทธิ์ของพันธุ์ ปลูกศึกษาข้อมูลเบื้องต้น แล้วจึงนำเข้าประเมินศักยภาพของพันธุ์ระหว่างปี พ.ศ. 2549 ถึง 2559 ตามขั้นตอน ดังนี้ ปลูกฟื้นฟูความมีชีวิตและคัดเลือกต้นที่มีลักษณะดี ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สงขลา ในปี พ.ศ. 2549 รวม 2 ฤดูปลูก ปลูกขยายปริมาณเมล็ดและคัดเลือกแบบ Mass selection ดำเนินการที่ศูนย์วิจัย พืชไร่สงขลา ในปี พ.ศ. 2550 รวม 3 ฤดูปลูก ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ได้นำเข้าสู่การเปรียบเทียบมาตรฐานพันธุ์ จำนวน 2 แปลง ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สงขลาและศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตรัง ในปี พ.ศ. 2552 นำเข้าสู่การเปรียบเทียบพันธุ์ในท้องถิ่นจำนวน 4 แปลง พื้นที่ 3 จังหวัด คือ จังหวัดตรัง 1 แปลง พัทลุง 1 แปลง และนราธิวาส 2 แปลง และนำเข้าสู่การเปรียบเทียบพันธุ์ในท้องถิ่นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบพันธุ์นอกพื้นที่ภาคใต้ จำนวน 4 จังหวัด รวมจำนวน 4 แปลง ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ 1 แปลง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี 1 แปลง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์ 1 แปลง และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบูรณ์ 1 แปลง เพื่อศึกษาศักยภาพของพันธุ์เมื่อปลูกในพื้นที่อื่นนอกเหนือจากแหล่งปลูกปกติในภาคใต้ และในปี พ.ศ. 2553 ได้เริ่มทดสอบพันธุ์ในไร่เกษตรกรจำนวน 2 แปลง พื้นที่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดระนอง 1 แปลง และสงขลา 1 แปลง จากนั้นในช่วงปี พ.ศ. 2557 ได้ทำการเปรียบเทียบพันธุ์ในไร่เกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้จำนวน 6 แปลง ใน 6 จังหวัด คือ จังหวัดชุมพร 1 แปลง กระบี่ 1 แปลง พัทลุง 1 แปลง สงขลา 1 แปลง สตูล 1 แปลง และนราธิวาส 1 แปลง และในปี พ.ศ. 2558 ถึง 2559 ได้ทดสอบพันธุ์ในไร่เกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้จำนวน 4 แปลง ที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี 1 แปลง นครศรีธรรมราช 1 แปลง ชุมพร 1 แปลง พังงา 1 แปลง และทดสอบพันธุ์ในไร่เกษตรกรนอกพื้นที่ภาคใต้อีก 6 แปลง ที่จังหวัดสุรินทร์ 1 แปลง อำนาจเจริญ 1 แปลง เลย 1 แปลง นครราชสีมา 1 แปลง กาญจนบุรี 1 แปลง และปราจีนบุรี 1 แปลง ซึ่งทั้งหมดเป็นการดำเนินการภายใต้โครงการวิจัยที่ผ่านทางสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 8 จังหวัดสงขลา เนื่องจากถั่วหรั่งเป็นพืชท้องถิ่นของภาคใต้
- ลักษณะประจำพันธุ์
- ถั่วหรั่งสายพันธุ์ TVsu1221 มีสีใบและสีก้านใบเป็นสีเขียว ลำต้นสีม่วงแดง รูปใบทรงใบหงอก กลีบดอกสีเหลือง ทรงกอเป็นพุ่มแคบ เปลือกฝักสดสีขาวปนน้ำตาลเช่นเดียวกับถั่วหรั่งพันธุ์สงขลา 1 แต่มีลักษณะสีเยื่อหุ้มเมล็ดสดเป็นสีขาวในขณะที่สีเยื่อหุ้มเมล็ดแห้งเป็นสีเหลืองครีม ซึ่งแตกต่างกับพันธุ์สงขลา 1 ที่มีสีแดง ทั้งสีเยื่อหุ้มเมล็ดสดและสีเยื่อหุ้มเมล็ดแห้ง มีอายุถึงวันดอกแรกบาน 36 วัน อายุเก็บเกี่ยว 110-120 วัน ให้ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 544.0 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักแห้งเฉลี่ย 183.6 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์สงขลา 1 ร้อยละ 49 และร้อยละ 79 ตามลำดับ มีน้ำหนัก 100 เมล็ดเฉลี่ย 49.2 กรัม เปอร์เซ็นต์กะเทาะร้อยละ 66.9 มีโปรตีนร้อยละ 19.10 และมีปริมาณน้ำมันร้อยละ 3.47
- ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
- ถั่วหรั่งพันธุ์ กวก. สงขลา 3
- พื้นที่แนะนำ
- ถั่วหรั่งสายพันธุ์ TVsu1221 สามารถปลูกได้ในสภาพพื้นที่ซึ่งเหมาะสมกับการปลูกถั่วหรั่งโดยทั่วไป คือ ในพื้นที่ดอนดินร่วนปนทรายถึงทรายจัด มีการระบายน้ำและอากาศดี ทั้งในและนอกแหล่งปลูกภาคใต้
- ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
- หลีกเลี่ยงช่วงปลูกที่จะเกิดการกระทบแล้งในระยะที่ถั่วหรั่งพันธุ์นี้กำลังออกดอกและเริ่มติดฝัก คือ ในช่วงอายุ 35-65 วัน หลังงอก
- หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
- สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 จังหวัดสงขลา กรมวิชาการเกษตร
- วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
- 26 มิ.ย. 2567
- ประเภทพันธุ์
- พันธุ์แนะนำ
- ลักษณะเด่น
- 1. ให้ผลผลิตสูง โดยให้ผลผลิตฝักสดและผลผลิตฝักแห้งเฉลี่ย 544.0 และ 183.6 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์สงขลา 1 ร้อยละ 49 และร้อยละ 79 และให้น้ำหนัก 100 เมล็ด เฉลี่ย 49.2 กรัม สูงกว่าพันธุ์สงขลา 1 ร้อยละ 18 2. มีศักยภาพในการให้ผลผลิตสูงแม้ปลูกในพื้นที่อื่นนอกเหนือจากภาคใต้ที่เป็นแหล่งปลูกหลัก 3. มีปริมาณโปรตีนร้อยละ 19.10 ซึ่งสูงกว่าพันธุ์สงขลา 1 ร้อยละ 4.12
- ประเภทพืช
- พืชท้องถิ่น
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ