<< กลับสู่หน้ารายการ
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ
ข้าวเจ้าน้ำรู
- ประวัติ
- ข้าวเจ้าน้ำรู ได้มาจากชาวไทยภูเขาเผ่าลีซอ บ้านน้ำรู ดอยสามหมื่น อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในปีพ.ศ.2518 สถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวสะเมิง ได้ทำการปลูกศึกษาพันธุ์ถึงปีพ.ศ.2524-2525 ได้นำเข้าทำการทดสอบเปรียบเทียบผลผลิตข้าวไร่ของสถานีทดลองเกษตรที่สูงจังหวัดเชียงใหม่ และปีพ.ศ.2526 เปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี
- ลักษณะประจำพันธุ์
- ข้าวไวต่อช่วงแสงอย่างอ่อนถ้าปลูกในระดับความสูง 1,100-1,250 เมตร จากระดับน้ำทะเล จะเก็บเกี่ยวกลางเดือนตุลาคม ทรงกอค่อนข้างแน่น แตกกอดี จำนวนรวง 174 รวงต่อตารางเมตร ความสูง 141 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียว ตรง ค่อนข้างแข็งไม่ล้มง่าย รวงและคอรวงยาวระแง้ค่อนข้างถี่ข้าวเปลือกสีฟางรูปร่างค่อนข้างป้อมระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 1 สัปดาห์ ปริมาณอมิโลส 23.4 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักข้าวเปลือก 100 เมล็ด 3.0 กรัม คุณภาพข้าวสุกไม่หอม นุ่มปานกลาง
- ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
- ข้าวเจ้าน้ำรู
- พื้นที่แนะนำ
- ปลูกในสภาพไร่เจริญเติบโตได้ดีในที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 - 1,400 เมตร
- ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
- ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้งใบสีส้มโรคใบหยิกโรคเขียวเตี้ยโรคหูด และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
- หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
- สถานีทดลองข้าวไร่และธัญพืชเมืองหนาวสะเมิง สถานีทดลองเกษตรที่สูงจังหวัดเชียงใหม่
- วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
- 20 ก.ค. 2530
- ประเภทพันธุ์
- พันธุ์รับรอง
- ลักษณะเด่น
- ชูรวงและระแง้ถี่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 247 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานปานกลางต่อโรคไหม้และต้านทานโรคเมล็ดด่างได้ดีในสภาพธรรมชาติเจริญเติบโตได้ดีในที่มีอากาศหนาวและบนที่สูงตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยสูง
- ประเภทพืช
- ข้าว
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ