<< กลับสู่หน้ารายการ
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ
ข้าวเจ้าปทุมธานี 60
- ประวัติ
- ข้าวเจ้าพันธุ์ ปทุมธานี 60 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวพันธุ์ ดอกมะลิ 70 กับสายพันธุ์ Chinese345 เมื่อปีพ.ศ.2501 ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง ปลูกคัดเลือกชั่วที่ 1 และปลูกคัดเลือกในชั่วต่อ ๆ มาได้พันธุ์ SPT'58-37-400 ในเขตภาคกลาง ปี พ.ศ.2518-2529 ทำการทดลองเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานีภาคกลาง 8 แห่ง และเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์
- ลักษณะประจำพันธุ์
- ข้าวไวต่อช่วงแสง เก็บเกี่ยวประมาณ วันที่ 25 พฤศจิกายน ความสูงประมาณ 159 เซนติเมตร จำนวนรวงต่อกอประมาณ 12 รวง ไม่ต้องการปุ๋ยจำนวนมาก เป็นท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดี ปริมาณอมัยโลสสูง 27-32 เปอร์เซ็นต์ ข้าวมีกลิ่นหอมข้าวสุกไม่แฉะง่าย เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่ไม่ชอบข้าวแฉะ
- ชื่อพันธุ์พืชที่รับรอง
- ข้าวเจ้าปทุมธานี 60
- พื้นที่แนะนำ
- ปลูกในพื้นที่ลุ่มภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก ในเขตชลประทานและเขตเกษตรน้ำฝน
- ข้อควรระวัง/ข้อจำกัด
- ไม่ต้านทานโรคและแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ ๆ เช่น โรคไหม้ โรคใบสีส้ม โรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและหนอนกอ และการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากต้นจะล้มง่าย
- หน่วยงานเจ้าของพันธุ์
- ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
- วันที่รับรอง (วัน/เดือน/ปี)
- 30 ก.ย. 2530
- ประเภทพันธุ์
- พันธุ์รับรอง
- ลักษณะเด่น
- ผลผลิตเฉลี่ย 517 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวมีกลิ่นหอมคล้ายข้าวขาวดอกมะลิ 105 แต่หุงสุกแล้วร่วนแบบเดียวกับข้าวขาวตาแห้ง 17 คุณภาพเมล็ดดี ยาวเรียว เลื่อมมันใสเป็นท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดีเป็นข้าว 100 เปอร์เซ็นต์ ต้านทานโรคกาบใบเน่าโรคใบหงิกในสภาพธรรมชาติ
- ประเภทพืช
- ข้าว
ดาวโหลดข้อมูล
<< กลับสู่หน้ารายการ