สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่




พืชไร่ มีทั้งสิ้น 7 รายการ


เป็นพันธุ์เดือยข้าวเหนียว ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด ให้ผลผลิตทั้งเปลือก 299 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์วังสะพุง ร้อยละ 13 มีเปอร์เซ็นต์กะเทาะ 55.6 เปอร์เซ็นต์ และผลผลิตหลังกะเทาะ 167 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์วังสะพุง ร้อยละ 13 และร้อยละ 26 ตามลำดับ




สภาพไร่ให้ผลผลิตเมล็ดเฉลี่ย 175 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์เมล็ดดำ ร้อยละ 37 และในสภาพนาหลังเก็บเกี่ยวข้าว ให้ผลผลิตเมล็ด 183 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์เมล็ดลาย มวลชีวภาพเฉลี่ยที่อายุ 60-65 วันหลังงอก 1,274 กิโลกรัมต่อไร่ ในต้นฤดูฝนสูงกว่าพันธุ์เมล็ดดำ ร้อยละ 19.8 และมีปริมาณธาตุอาหารในต้นสูงโดยมีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซี่ยมเท่ากับ 31.2, 4.2 และ 24.0 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ




ให้ผลผลิตมวลชีวภาพ (น้ำหนักแห้ง) เมื่อเก็บเกี่ยวที่อายุ 90 และ 120 วัน เฉลี่ย 804.6 และ 1,160.6 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์จีนแดง ร้อยละ 13.2 และ 7.7 ตามลำดับ ให้ผลผลิตเมล็ดแห้งเฉลีย 461 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์จีนแดงร้อยละ 12.3 เมื่อปลูกในดินทรายชุดยโสธร ซึ่งมีอินทรีย์วัตถุ ร้อยละ 0.58 และมีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 33.4 ppm สามารถตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน (N) และปุ๋ยฟอสเฟต (p2O5) ในอัตราต่ำเพียง 3 และ 6 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ




ขนาดเมล็ดโตกว่าพันธุ์มหาสารคาม 60 ร้อยละ 6 ให้ผลผลิตสูง 122 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับพันธุ์มหาสารคาม 60 ปริมาณสาร antioxidants สูง 10,771 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยให้ค่าสูงกว่าพันธุ์มหาสารคาม 60 ร้อยละ 16 ปริมาณธาตุแคลเซี่ยมสูง 0.69 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าพันธุ์มหาสารคาม 60 ร้อยละ 6 เปลือกเมล็ดบาง




ผลผลิตเฉลี่ย 203 กิโลกรัมต่อไร่ ใกล้เคียงกับพันธุ์ลูกผสมแปซิฟิคของ 38 ของบริษัท ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ย 218 กิโลกรัมต่อไร่ ทนแล้งได้ดีกว่าพันธุ์แปซิฟิค 33 มีการติดเมล็ดสูงร้อยละ 92




ฝักยาว ตรง จำนวนฝักที่มี 3-4 เมล็ด มีมากถึง 44 เปอร์เซ็นต์ มากกว่าพันธุ์กาฬสินธุ์ 1 ซึ่งมีเพียง 31 เปอร์เซ็นต์ เปลือกฝักค่อนข้างเรียบ ทำให้ล้างฝักสดให้สะอาดได้ง่าย มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง ซึ่งเป็นที่นิยมของตลาดถั่วต้มในประเทศไทย ให้ผลผลิตฝักแห้งสูงกว่าพันธุ์กาฬสินธุ์ 1 ประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ คือผลผลิตฝักแห้งเฉลี่ย 210 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักสด 405 กิโลกรัมต่อไร่




ผลผลิตอ้อยสดเฉลี่ย 13.4 ตันต่อไร่ สูงกว่าอ้อยพันธุ์ตรวจสอบ F154 ร้อยละ 29 ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 1.8 ตันต่อไร่ สูงกว่าอ้อยพันธุ์ตรวจสอบ F154 ร้อยละ 38 ทนทานต่อโรคแส้ดำและหนอนกอ ต้านทานโรคใบขาวปานกลาง