สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่




พืชไร่ มีทั้งสิ้น 6 รายการ


ให้ผลผลิตทะลายปาล์มสูงสุด 3,060 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี (ผลผลิตเฉลี่ย 8 ปี) สูงกว่าพันธุ์มาตรฐาน 142 ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ และต่ำกว่าพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสม สุราษฎร์ธานี 1 และ 2 เพียง 1 และ 7 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ให้จำนวนทะลายสูง 12 ทะลายต่อต้นต่อปี มีกะลาบางเพียง 7 เปอร์เซ็นต์ ส่วนพันธุ์มาตรฐาน 142 มีกะลาต่อผล 10 เปอร์เซ็นต์ (โดยน้ำหนัก)




1.)ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 2,839 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี (หรือ 124.5 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี) สูงกว่าพันธุ์มาตรฐาน 142 ประมาณ 8.7 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งให้ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 2,613 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี (หรือ 114.6 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี) 2.)ผลผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ย 732.4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์มาตรฐาน 142 ซึ่งให้ผลผลิตน้ำมันดิบ 679.4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี 3.)ลักษณะต้นสูงปานกลางโดยเมื่ออายุ 9 ปีมีความสูง 266 เซนติเมตร ซึ่งจะเตี้ยกว่าพันธุ์มาตรฐาน 142 ที่มีความสูง 308 เซนติเมตร




1.)ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 2,989 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์มาตรฐาน 142 ประมาณ 15.5 เปอร์เซ็นต์ หรือ 132.4 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี เปรียบเทียบกับพันธุ์มาตรฐาน 142 ซึ่งให้ผลผลิตทะลายสด 2,613 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี หรือ 114.6 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี 2.)ผลผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ย 726.4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์มาตรฐาน 142 ซึ่งให้ผลผลิตประมาณ 6.9 เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบกับพันธุ์มาตรฐาน 142 ซึ่งให้ผลผลิตน้ำมันดิบ 679.4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี 3.)เปลือกนอกสดต่อผล 86.3 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน กะลาต่อผล 6.7เปอร์เซ็นต์ ซึ่งบางกว่าเกณฑ์มาตรฐาน




ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 18.04 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 1 (15.91 ตันต่อไร่) ร้อยละ 13 และให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.53 ตันซีซีเอสต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 1 (2.01 ตันซีซีเอสต่อไร่) ร้อยละ 26 มีความหวานเฉลี่ย 13.54 ซีซีเอส สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 1 (12.65 ซีซีเอส) ร้อยละ 7 ในดินร่วนปนทราย เขตมีน้ำเสริม




1.)ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 251 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 ร้อยละ 17 2.)ขนาดเมล็ดใหญ่ตรงตามความต้องการของตลาดโดยให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ดเฉลี่ย 59.8 กรัม สูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 ร้อยละ 16 3.)เหมาะสำหรับการเพาะถั่วงอก โดยให้น้ำหนักสดของถั่วงอกสูงและมีรสชาติหวานมากกว่า พันธุ์พิษณุโลก 2 4.)ลำต้นตั้งตรงและแข็งแรง มีการหักล้มของลำต้นน้อยกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 5.)อายุการเก็บเกี่ยวสั้น ใกล้เคียงกับพันธุ์พิษณุโลก 2 6.)ความสูงของลำต้นจากพื้นดินถึงข้อที่สอง สูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 ทำให้สะดวกในการเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจักรกล




1.)ผลผลิตและปริมาณแป้งในหัวสดเมื่อปลูกทั้งต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝนสูงกว่าพันธุ์รับรองทุกพันธุ์ โดยให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ย 6.08 ตันต่อไร่ ปริมาณแป้งในหัวสด 27.7 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตแป้ง 1.71ตันต่อไร่ และผลผลิตมันเส้น 2.35 ตันต่อไร่ 2.)งอกเร็วมากประมาณ 6 วันหลังจากปลูก ในขณะที่พันธุ์ทั่วไปใช้เวลางอก 14 วัน หลังปลูก ดังนั้น สามารถปลูกปลายฤดูฝนได้ดีเนื่องจากให้ความงอกเร็วกว่าทุกพันธุ์จึงเป็นโอกาสให้การเจริญเติบโตได้เร็วในช่วงระยะแรกของการเจริญเติบโตคือ ในช่วงอายุ 1-2 เดือนหลังปลูก ซึ่งในขณะนั้นดินยังมีความชื้นอยู่ และสามารถฟื้นตัวหรือเจริญเติบโตได้เร็วเมื่อได้รับน้ำฝนอีกครั้งหลังจากผ่านช่วงฤดูแล้งอันยาวนานด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงเป็นพันธุ์ที่ใช้สำหรับปลูกทั้งปลายฤดูฝนและต้นฤดูฝนได้ดี 3.)จำนวนลำต้นที่แตกออกจากท่อนปลูก 2-4 ลำต้นต่อหลุม ทำให้คลุมวัชพืชได้ดีในช่วง 3 เดือนหลังจากปลูก นอกจากนี้ยังเป็นพันธุ์ที่มีทรงต้นดีไม่แตกกิ่ง เป็นผลทำให้ลำต้นไม่หักล้มสะดวกในการดูแลรักษาและเก็บเกี่ยว 4.)จำนวนหัวต่อต้นมากถึง 11 หัวต่อต้น มีขนาดของหัวใกล้เคียงกันโดยหัวออกรอบโคนลำต้นและเรียงกันเป็นชั้นและไม่มีก้านหัวคือหัวขาดยากเมื่อเก็บเกี่ยว ดังนั้น จึงเหมาะกับการใช้เครื่องขุดในการเก็บเกี่ยวผลผลิต 5.)เมื่อปลูกในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง จะให้ลำต้นแข็งแรง ไม่แตกกิ่ง และไม่เกิดปัญหาหักล้มเมื่อเทียบกับพันธุ์รับรองทุกพันธุ์