สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่




ข้าว มีทั้งสิ้น 6 รายการ


ให้ผลผลิตเฉลี่ย 391 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานต่อโรคไหม้ คุณภาพการสีดี ให้เปอร์เซ็นต์ต้นข้าวและข้าวเต็มเมล็ดดีกว่าข้าวไร่พันธุ์เจ้าฮ่อ ร้อยละ 6 ข้าวสุกนุ่ม




ให้ผลผลิตสูง เฉลี่ย 529 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์เล็บนกปัตตานี ร้อยละ 16 ลักษณะต้นแข็งไม่ล้ม ต้านทานโรคขอบใบแห้งดีกว่าพันธุ์เล็บนกปัตตานี




ผลผลิตสูงเฉลี่ย 582 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ขามเหนี่ย ที่เกษตรกรนิยมปลูกร้อยละ 52 คุณภาพการหุงต้มดี ข้าวสุกเหนียวนุ่ม รสชาติดีตรงตามความต้องการของเกษตรกรและผู้บริโภคระดับท้องถิ่น ทนทานต่ออากาศหนาวเย็นบนพื้นที่สูง




1.)เป็นข้าวอายุสั้น(103-105 วัน เมื่อปลูกโดยวิธีหว่านตม) ซึ่งสั้นกว่าพันธุ์ปทุมธานี 1 ประมาณ 7-9 วัน 2.)ต้นเตี้ย สูงประมาณ 83-95 เซนติเมตร 3.)คุณภาพการหุง เป็นข้าวร่วน มีกลิ่นหอม เป็นทางเลือกของผู้บริโภคที่ชอบข้าวร่วนประเภทข้าวเสาไห้ แต่มีกลิ่นหอม 4.)ค่อนข้างต้านทานถึงต้านทาน ต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ดีกว่าพันธุ์ปทุมธานี 1 5.)ให้ผลผลิตเฉลี่ย 657 กิโลกรัมต่อไร่(ปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม) ซึ่งใกล้เคียงกับพันธุ์ปทุมธานี 1 (643 กิโลกรัมต่อไร่)




อายุการเก็บเกี่ยว 90-95 วัน ปลูกในช่วงเดือนพฤศจิกายน – มีนาคม และ 110-115 วัน ปลูกในช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม ผลผลิตสูงในสภาพการปลูกข้าวก่อนน้ำท่วมและหลังน้ำลด ในเขตจังหวัดปราจีนบุรี และฉะเชิงเทราผลผลิตฤดูนาปี 705 กิโลกรัมต่อไร่ ฤดูนาปรัง 827 กิโลกรัมต่อไร่ ต้านทานต่อโรคไหม้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่นสีเขียวที่จังหวัดปราจีนบุรี




1.)เป็นข้าวน้ำลึกที่มีรูปทรงต้นแบบใหม่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตสูงที่ระดับน้ำ 25 เซนติเมตร ให้ผลผลิต 842 กิโลกรัมต่อไร่ น้ำลึก 100 เซนติเมตร ให้ผลผลิต 546 กิโลกรัมต่อไร่ 2.)อายุเบากว่าข้าวพันธุ์ปราจีนบุรี 2 ออกดอก 6-10 พฤศจิกายน สามารถปลูกในพื้นที่ ที่น้ำแห้งนาประมาณต้นเดือนธันวาคม 3.)มีความสามารถยืดปล้อง ทนน้ำท่วมและทนแล้งได้ดีกว่าพันธุ์ปราจีนบุรี 2 ทนดินเปรี้ยว (PH 4.6–5.1) ได้ดีในระดับเดียวกัน 4.)ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยจักจั่นสีเขียวและต้านทานได้ดีกว่าพันธุ์ปราจีนบุรี 2 หันตรา 60 กข 19 และเหลืองประทิว 123 5.)สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เส้นได้ดี เช่น เส้นบะหมี่ ขนมจีน ก๋วยจั๊บ