สำหรับเจ้าหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่




พืชไร่ มีทั้งสิ้น 6 รายการ


ผลผลิตทะลายสด 3,254 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ให้ผลผลิตในแต่ละปีสม่ำเสมอแม้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ต้นเตี้ยกว่าพันธุ์มาตรฐาน 142 และพันธุ์ปาล์มลูกผสมสุราษฎร์ธานี 1 ประมาณ 30 และ 12 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ให้จำนวนทะลายสูง มีก้านทะลายยาว ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว ขนาดเนื้อในต่อผล 9.9 เปอร์เซ็นต์ เหมาะสำหรับใช้ทำเครื่องสำอางในอนาคต




ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 3 ให้น้ำมันดิบต่อทะลายเฉลี่ย 27 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าพันธุ์มาตรฐานซึ่งให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันดิบต่อทะลาย 26 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ย 4 ปี 760 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์มาตรูฐาน 11.7 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 4 ปี 2,813 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์มาตรฐาน 10 เปอร์เซ็นต์ ในสภาพแวดล้อมเหมาะสม ผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 3,625 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี ในสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,357 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี




เปลือกฝักค่อนข้างเรียบ ทำให้ล้างฝักสดให้สะอาดได้ง่าย อายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่าพันธุ์ สข.38 และขอนแก่น 60-2 ประมาณ 5-10 วัน มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง ซึ่งเป็นที่นิยมของตลาดถั่วลิสงฝักต้มในประเทศไทย มีรสชาติดีฝักตรง มีจำนวนเมล็ด 2-3 เมล็ดต่อฝัก




ผลผลิตฝักสดเฉลี่ย 579 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ขอนแก่น 60-2 และ สข.38 ร้อยละ 10 และ 18 ตามลำดับ ให้ผลผลิตฝักแห้ง 204 กิโลกรัมต่อไร่ มีความต้านทานต่อโรคราสนิมและโรคใบจุดสีน้ำตาล มีฝักยาวสวย มี 2-4 เมล็ดต่อฝัก รสชาติค่อนข้างหวาน




ผลผลิตปุยทั้งเมล็ด เฉลี่ย 309 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ศรีสำโรง 2 ร้อยละ 7 มีความยาวเส้นใยดีกว่าพันธุ์ศรีสำโรง 2 และ ศรีสำโรง 60 มีความเหนียวรั้งความสม่ำเสมอ ตลอดจนความละเอียดอ่อนของเส้นใยอยู่ในระดับเดียวกับพันธุ์ศรีสำโรง 2 และศรีสำโรง 60 มีความต้านทานโรคใบหงิกในสภาพการปลูกเชื้อได้ดีในระดับเดียวกับพันธุ์ศรีสำโรง 2 และศรีสำโรง 60




ผลผลิตน้ำตาลที่คำนวณได้ ในอ้อยปลูกและอ้อยตอปีที่ 1 คือ 2.03 และ 1.54 ตันซีซีเอสต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 1 ร้อยละ 9 และ 11 ตามลำดับ มีค่าซีซีเอสในอ้อยปลูก และในอ้อยตอปีที่ 115.99 และ 15.22 สูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 1 ร้อยละ 16 และ 12 ตามลำดับ ทรงกอตั้งตรงไม่ล้ม ต้านทานต่อโรคเหี่ยวเน่าแดงในระดับปานกลางในสภาพการปลูกเชื้อ